วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

11.การศึกษาต่างด้าว (Immigrant Education)

          สังคมอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีชาวต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นัยสำคัญของคนต่างด้าวจำนวนมากมาจากครอบครัวที่เรียกว่า “ยากจน(structurally poor)”  เด็กที่มาจากประเทศต่าง ๆ จะถูกตีตราว่า “ด้อยความสามารถในการเรียนรู้(learning disabled or “slow” เพื่อช่วยให้คนต่างด้าวที่เข้ามาใหม่นักการศึกษาให้คำแนะนำว่าโรงเรียนควรได้จัดหลักสูตรสองภาษา(Bilingual programs) หลักสูตรพหุวัฒนธรรมจะช่วยให้เด็กต่างด้าวได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

          สถาบันรามจิตติภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานเสวนาเรื่อง “จับกระแสยุทธศาสตร์การศึกษาสำหรับลูกแรงงานต่างด้าว

          สถาบันรามจิตติภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานเสวนาเรื่อง “จับกระแสยุทธศาสตร์การศึกษาสำหรับลูกแรงงานต่างด้าว : ประสบการณ์จากนานาประเทศและบทเรียนสำหรับประเทศไทย” โดยมี ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นประธาน

          ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ และหัวหน้าโครงการจับกระแสความเคลื่อนไหวและนวัตกรรมการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน” (INTREND) ระบุว่า ปัจจุบันมีเด็กลูกแรงงานต่างด้าวและเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทยอยู่ประมาณ 2.5–3 แสนคน โดยปัญหาของเด็กกลุ่มนี้มีตั้งแต่ การไม่รู้หนังสือ การต้องออกจากการศึกษากลางคันเนื่องจากต้องย้ายตามพ่อแม่ ไปจนถึงปัญหาการถูกบังคับค้าแรงงาน และการเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ ขณะที่หน่วยงานภาครัฐในส่วนของผู้ปฏิบัติ และพ่อแม่เด็กซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวเอง ยังขาดความเข้าใจในตัวกฎหมายและระบบระเบียบของรัฐ ตลอดจนการมีทัศนคติในการยอมรับ

         ความเท่าเทียมของมนุษย์ แต่ปัจจุบันยังคงมีความพยายามในระดับพื้นที่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเด็กลูกแรงงานต่างด้าวในไทย โดยกลุ่ม NGOs และกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่

          รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร จากคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เห็นว่า เด็กกลุ่มลูกแรงงานต่างด้าวในปัจจุบันยังคงมีกำแพงในการคุ้มครองสิทธิอยู่ คือ กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องทะเบียนราษฎรการเข้าเมือง และสัญชาติ ขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะรับรองสิทธิของเด็กกลุ่มนี้ด้วยการกำหนดเลข 0 นำหน้าในบัตรประชาชน ซึ่งช่วยให้เด็กนำไปใช้เป็นหลักฐานในการเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาในประเทศได้

         ด้าน อ.เปรมใจ วังศิริไพศาล จากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ตามกฎหมายแล้วโรงเรียนต้องรับเด็กเข้าศึกษาได้โดยไม่เลือกสัญชาติ แต่ด้วยการจัดการศึกษาซึ่งดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น NGOs หรือกระทั่งกระทรวงศึกษาเอง ยังมีเป้าหมายที่ยังไม่ชัดเจนว่าควรเป็นในรูปแบบใด การศึกษาภาคบังคับ การศึกษาสายอาชีพ หรือการให้วุฒิการศึกษาซึ่งเป็นมาตรฐานสามารถนำกลับไปเทียบโอนในประเทศต้นทางได้ ประเทศไทยไม่เคยมีนโยบายความร่วมมือทางการศึกษากับประเทศโดยรอบว่าจะดูแลและให้การศึกษากับเด็กกลุ่มนี้อย่างไร

         สมพงษ์ สระแก้ว จากมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ชี้ให้เห็นว่า ควรแยกเรื่องการจัดเก็บข้อมูลเด็กลูกแรงงานต่างด้าวออกจากข้อมูลแรงงานต่างด้าว เพราะเมื่อทราบจำนวนที่แน่นอนของเด็กกลุ่มนี้แล้ว ก็สามารถที่จะเข้าไปให้การช่วยเหลือ หรือวางแผนการจัดการด้านการศึกษาได้ ทั้งการศึกษาภาคบังคับ และนอกระบบซึ่งจะช่วยให้เขาเหล่านี้เติบโตขึ้นมาในสังคมไทยโดยเข้าใจสังคมไทยอย่างมีทางเลือกในชีวิต

          ขณะที่ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ชี้ว่า สิ่งซึ่งท้าทายที่สุดของการจัดการกับปัญหาลูกแรงงานต่างด้าวในไทย คือ หน่วยงานภาครัฐเองต้องการความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งในด้านข้อมูลประชากร คู่มือปฏิบัติ และข้อกฎหมาย ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างของการทำงาน สามารถกำหนดประเด็นในการทำงานเชิงรุกของหน่วยงานภาครัฐได้

          “ประเด็นสำคัญคือ เราจำเป็นต้องปรับทัศนคติในการยอมรับคนกลุ่มนี้ว่าเขาเองก็คือประชากรของอาเซียนไม่ควรแบ่งเขาแบ่งเรา ตลอดจนการปรับแนวคิดเรื่องการลงทุนในการดูแลคนกลุ่มนี้ให้กับสังคมเสียใหม่ เนื่องจากสถานประกอบการเป็นผู้รับประโยชน์โดยตรงจากลูกแรงงานต่างด้าว ดังนั้นรัฐในฐานะผู้ลงทุนเดิม ควรเพิ่มบทบาทให้ผู้ประกอบการในฐานะผู้รับประโยชน์โดยตรง ให้เข้ามาร่วมลงทุนสนับสนุนการดูแลแรงงานต่างด้าว และเด็กลูกแรงงานต่างด้าวโดยไม่ปล่อยให้เป็นภาระของคนทั้งชาติอีกต่อไป”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น