วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

9.สาโรช บัวศรี

       ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช  บัวศรี ได้กล่าวถึงหลักสูตรการศึกษาว่าต้องมีการนำเอาพุทธปรัชญามาใช้ในการแก้ปัญหา คือเป็นการประยุกต์เข้ากับการศึกษาเพื่อการแก้ปัญหา โดยใช้อริยสัจจ์ ๔ เปรียบเทียบกับการแก้ปัญหา[๗]หรือเป็นการบูรณาการการศึกษาให้เกิดการเชื่อมโยงวิชาการต่างๆ ที่สอนให้มีความสอดคล้องกัน เพื่อให้การเรียนไม่เกิดความซ้ำซ้อนของวิชาการต่างๆ ดังนั้น ดร.สาโรช บัวศรี จึงได้เสนอให้มี การพัฒนาหลักสูตร เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการ ว่ามี  ๔ วิธี คือ[๘

 วิธีที่ ๑ พยายามจัดวิชาที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจน  ให้ได้อยู่ในสัปดาห์เดียวกัน  หรือในเดือนเดียวกัน เช่นประวัติศาสตร์กับภูมิศาสตร์ เป็นต้น  

วิธีที่ ๒ ให้รวบรวมวิชาที่ใกล้ชิดกันมากๆ  ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน   คือ ให้เป็นวงวิชากว้างๆ เช่น วิชาอ่าน เขียนเรียงความ  ไวยากรณ์โดยให้ชื่อกลุ่มนี้ว่า  ศิลปะทางภาษา เป็นต้น  

วิธีที่ ๓ ควรแบ่งหลักสูตรออกเป็น ๒ ตอนใหญ่ ดังต่อไปนี้ คือ

(๑) วิชาแกนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนได้เกิดสภาพที่เรียกว่า บูรณาการโดยตรง   คือ บังคับทุกคน  คาดคะเนไว้ล่วงหน้าว่า ให้เรียนอะไรบ้าง และ ครูกับนักเรียนพิจารณาร่วมกัน   

(๒) วิชาต่างๆ ซึ่งแยกสอนเป็นวิชาๆ ไปตามเดิมทั้งนี้เพื่อมุ่งให้เกิดความช่ำชองในแต่ละวิชา  เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ    

วิธีที่ ๔. ปรับปรุงข้อที่สามให้ตรงกับความเป็นจริงในชีวิตจริง คือ พยายามแก้ปัญหาของเด็ก ร่วมกัน  โดยถือเอาตัวเด็ก  คือ  ปัญหาของเด็กนั่นเอง เป็นศูนย์กลาง (Child centered) และให้เรียนวิชาต่างๆ ตามปรกติเพื่อสนองความต้องการของตนเองและสังคม
       ศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี   ท่านเห็นว่า หลักสูตรการศึกษาที่ดีต้องมีลักษณะบูรณาการวิชาเรียนเข้ากันได้ในแต่ละวัน  คือ วิชาไหนที่เหมือน หรือคล้ายๆ กันก็ควรที่จะเรียนในวันเดียวกัน หรือ รวบเป็นวิชาเดียวกัน ให้เหมาะสมกับผู้เรียนที่เป็นศูนย์กลาง คือ ความเหมาะสมกับวัยและอายุของผู้เรียน หรือความพร้อมของผู้เรียน
          การเรียนการสอนในทรรศนะศาสตราจารย์ ดร.สาโรช  บัวศรี
ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช  บัวศรี ได้มีทรรศนะไว้ว่าการสอนที่ดีควรเป็นการสอนแบบใช้วิธีแก้ปัญหาซึ่งมีอยู่ ๕ ขั้น[๙]  คือ

ขั้นที่ ๑ เป็นการกำหนดปัญหา

ขั้นที่ ๒ การตั้งสมมุติฐาน

ขั้นที่ ๓ การทดลองปฏิบัติ

ขั้นที่ ๔ การวิเคราะห์ผลของการทดลอง

ขั้นที่ ๕ การสรุปผล
      ในทรรศนะศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี   วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ ทั้ง ๕ ประการนี้จะทำให้การศึกษาเกิดมีสภาวะที่เรียกว่าบูรณาการ   สามารถเกิดผลได้ดีเป็นการเรียนที่สามารถนำเอามาใช้ในชีวิตจริงได้     การเรียนการสอนแบบแก้ปัญหาซึ่งเป็นไปในลักษณะแบบวิทยาศาสตร์ ที่สามารถวัดได้ เห็นได้อย่างชัดเจน มีกรอบแนวคิดที่ชัดเจน และสาโรช  บัวศรี ยังได้นำเอาวิธีการอย่างวิทยาศาสตร์มาประยุกต์กับอริยสัจจ์ ๔ ร่วมอยู่ด้วย เป็นการวิเคราะห์วิธีการอย่างวิทยาศาสตร์กับอริยสัจจ์ ๔ เพื่อร่วมในการแก้ปัญหาไม่เพียงแต่ขณะปัจจุบันเท่านั้น แต่ต้องมีการแก้ทั้งด้านกายภาพของปัญหา และพฤติกรรมของปัญหาพร้อมกันไปด้วย ซึ่งการเรียนการสอนจะประสบผลไม่เพียงแต่ด้านวิชาการ ที่หมายถึงผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่มีต่อการแก้ไขปัญหาเท่านั้น แต่ต้องเป็นไปเพื่อการลดความโลภ ความโกรธความ และความหลง หรืออวิชชาความไม่รู้ของตนไปเรื่อย หรือเป็นไปอย่างครบกระบวนการอย่าง “ปฏิจจสมุปบาท” คือการอิงอาศัยของสิ่งต่างๆ การแก้ปัญหาจึงต้องมีการแก้อย่างสาวเหตุปัจจัย ไม่ด่วนสรุป แต่เป็นการพิจารณาอย่างเข้าใจ รอบคอบอย่างมีโยนิโสมนสิการ



การจัดการศึกษาในทรรศนะศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี   

ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช  บัวศรี ได้ให้แนวทางการจัดการศึกษา  หรือ วิธีสอนแม่บทสำหรับโรงเรียนว่าต้องใช้วิธีการแห่งปัญญา  คือ สอนตามหลักอริยสัจจ์ ๔  ซึ่งตรงกับวิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์  กล่าวคือ

        ขั้นที่  ๑  การกำหนดปัญหา  ซึ่งตรงกับขั้นทุกข์ในอริยสัจจ์

        ขั้นที่  ๒  การตั้งสมมุติฐาน  ซึ่งตรงกับขั้นสมุทัยในอริยสัจจ์

        ขั้นที่  ๓  การทดลองและเก็บข้อมูล  ซึ่งตรงกับขั้นนิโรธในอริยสัจจ์

        ขั้นที่  ๔  การวิเคราะห์และสรุปผล  ซึ่งตรงกับขั้นมรรคในอริยสัจจ์[๑๐]
     ดร.สาโรช  บัวศรี  ต้องการ ให้การจัดการศึกษาเป็นไปในรูปแบบการตั้งโจทย์ ตามหลักอริยสัจจ์ ๔ ซึ่งประยุกต์มาจากวิธีการอย่างวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการปรับหรือประยุกต์พุทธปรัชญาให้กลมกลืนกับแนวคิดสมัยใหม่  เพื่อเอาไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ทั้งต่อการเรียน และการจัดรูปแบบการศึกษา หรืออื่นๆ ได้อีกมาก ซึ่งวิธีการอย่างวิทยาศาสตร์นั้น ไม่ได้ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างที่เข้าใจกันมาก

      สาโรช บัวศรี (2514 : 21-22) ได้กล่าวว่า ในการจัดการศึกษาหรือจัดหลักสูตรต้องอาศัยพื้นฐานหลัก 5 ประการ คือ
              1. พื้นฐานทางปรัชญา
              2. พื้นฐานทางจิตวิทยา
              3. พื้นฐานทางสังคม
              4. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
              5. พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี
              จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่นำมาศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรมีมากมายหลายด้านสำหรับประเทศไทยควรจัดลำดับข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
              1. สังคมและวัฒนธรรม
              2. เศรษฐกิจ
              3. การเมืองการปกครอง
              4. สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในสังคม
              5. พัฒนาการทางเทคโนโลยีสภาพสังคมในอนาคต
              6. บุคคลภายนอกและนักวิชาการแต่ละสาขา
              7. โรงเรียน ชุมชน หรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
              8. ประวัติศาสตร์การศึกษาและหลักสูตร
              9. ธรรมชาติของความรู้
              10. ปรัชญาการศึกษา
              11. จิตวิทยาa

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น