วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร

           แม้ว่าการพัฒนาหลักสูตรที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน หรือหลักสูตรสถานศึกษา ตามนัยแห่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มุ่งหวังจะให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเนื้อหาสาระในหลักสูตรขั้นพื้นฐานเพิ่มเติม แต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ยังเน้นความสำคัญของเนื้อหาสาระ ประเภท สภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม ดังนั้นนอกจากภารกิจหลักของสถานศึกษาที่จะจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบแล้ว สถานศึกษายังต้องพิจารณาและจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องและสนองความต้องการของผู้เรียนที่ดำรงชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน ตำบล ท้องถิ่น หรือชุมชนที่มีความแตกต่างกัน

            เพื่อให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรและจัดทำเนื้อหาสาระของหลักสูตรทั้งสองประเภทดังกล่าวข้างต้น จึงขอเสนอรายละเอียด มิติ และมุมมองที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

            ถ้าหลักสูตรได้รับการพิจารณาว่าเป็นทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเกิดขึ้นในการวางแผนการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาแล้ว การพัฒนาหลักสูตรก็จะเป็นการพัฒนาแผนเพื่อจัดโปรแกรมการศึกษา ซึ่งหมายถึงการให้นิยามและการเลือกจุดประสงค์ของการศึกษา เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินโปรแกรมการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานปฏิบัติมิใช่งานทฤษฎี เป็นความพยายามที่จะออกแบบระบบ เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา และระบบนี้จะต้องเป็นประโยชน์ที่แท้จริงปรากฏต่อสังคมและต่อมนุษย์ ซึ่งมีความมุ่งหมาย มีความฝักใฝ่ในสิ่งที่ตนชอบ มีกลไกการเคลื่อนไหว ดังนั้น ขั้นตอนที่จำเป็นขั้นแรกในการพัฒนาหลักสูตร คือ การตรวจและวิเคราะห์สถานการณ์สำคัญๆ ซึ่งเป็นความมุ่งหมายปลายทางของการพัฒนาหลักสูตรคือ การเปลี่ยนแปลงของนักเรียนและครู ครูที่กลายเป็นผู้ที่มีความรู้มากขึ้น มีทักษะมากขึ้น และมีความไม่หยุดนิ่งมากขึ้น ครูซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวนี้จะเป็นผู้ที่ให้บริการแก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดต่อไปนี้จะกล่าวถึงการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร และแนวคิดการพัฒนาหลักสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น