วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

1.10SU Model

          จากการศึกษาแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรทั้งต่างประเทศและในประเทศ มีผู้สร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรมากมาย เช่น โอลิวา (Oliva) ไทเลอร์ (Tyler) เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส ทาบา (Taba) และวิชัย วงษ์ใหญ่ เป็นต้น จากแบบจำลองของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว จึงสามารถสรุปเป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model ดังนี้






          SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาลแห่งการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานที่สำคัญ 3 ด้าน คือ 1) พื้นฐานด้านปรัชญา 2) พื้นฐานด้านจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานด้านสังคม ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
เมื่อพิจารณาพื้นฐานด้านปรัชญา แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้ (Knowledge) กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน (Learner) กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น สังคม (Social) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
       กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
       สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร หลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
       การวางแผนหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการวางแผนหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการวางแผนหลักสูตรโดยนำสาระสำคัญมาจาก 21st Century Skills: The Challenges Ahead; A World Class Education ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียน วิสัยทัศน์ (Vision) ของหลักสูตร
       สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) คือการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาทำกรอบการปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรจึงเน้นการออกแบบเนื้อหา (Content) ประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

การออกแบบหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการออกแบบหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการออกแบบหลักสูตร โดยนำสาระสำคัญมาจากโมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ (Objective Model) หรือโมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา รูปแบบของการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา เน้าผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ หลักการออกแบบหลักสูตร 7 ประการของสก็อตแลนด์ แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนของมหาวิทยาลัยกิฟฟิธ การออกแบบหลักสูตรรายวิชาตามแนวคิดของเวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิดวัตถุประสงค์เป็นฐาน เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียนพันธกิจ (Mission) ของหลักสูตร
       สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดหลักสูตร (Curriculum Organization) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner), ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) ทั้งยังสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ มีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
การจัดหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนา รวบรวมข้อมูลความรู้และทำความเข้าใจให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่ โดยนำความรู้ตามแนวคิดของออร์นสไตน์และฮันกิน ไปออกแบบเป็นหลักสูตร
       สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินหลักสูตร และผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
การประเมินหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรให้กระจ่างแจ้ง
2. นำความรู้ที่รวบรวมได้ มาประมวลเป็นข้อมูลใหม่ โดยนำเสนอในรูปแบบสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาศึกษาแนวคิดการประเมินหลักสูตร แล้วเลือกใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรตามความสนใจเมื่อผู้พัฒนาต้องการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้พัฒนาต้องใช้เครื่องมือวัดในการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรม การประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน แล้วกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ The SOLO Taxonomy

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

1.ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร

          ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรคือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ที่เป็นปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
2. ขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
3. ผู้บริหารระดับต่างๆเห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ
4. ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร
5. ปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่

2.แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร

     เมื่อกล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้อง 2 ประเด็นคือ ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร กับการวิจัยทางการศึกษา โดยจะพบว่า ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีและจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปดังนี้
                รายงานการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950 มุ่งศึกษา ตัวแปรทำนานจากคุณสมบัติของครู มีความเชื่อว่าครูที่มีคุณสมบัติมีแนวโน้มที่จะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1) เสียง 
2) รูปร่างหน้าตา 
3) ความมั่นคงในอารมณ์ 
4) ความน่าเชื่อถือ 
5) ความอบอุ่น 
6) ความกระตือรือร้น

                ต่อมาผลการศึกษาวิจัยความมีประสิทธิภาพของครูในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ได้ข้อสรุปและเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพด้วย การนิเทศแบบคลินิก เทคนิควิธีสังเกตการณ์สอนชั้นเรียน เป็นต้น
               ต่อมาในทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์ และคณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐานในการเรียนการสอนสรุปได้ดังนี้

          1) การสอนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม 

          2) การอนุมานจากความคิดในด้านการเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ ความทรงจำ การถ่ายโอนความรู้ เป็นต้น

ผลการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 การเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอนจึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้ ในประเทศไทยหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพครูที่เรียกว่าคุรุสภาได้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ



แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรอาจพิจารณาได้จากผลการศึกษาวิจัย และข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ที่นำมาใช้การพัฒนาหลักสูตร
แนวโน้มของหลักสูตร

                    ออนสไตน์ได้สรุปไว้ว่าแนวโน้มของหลักสูตรมีดังนี้

1.การศึกษาในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ ความเจริญก้าวหน้าของวิดิทัศน์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนได้ วีดิโอเทป คาสเสท และดิสค์สามารถนำมาสอนได้ทั้งในห้องเรียน ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้และที่บ้านของนักเรียน วีดิโอทัศน์มีความสะดวกที่นำมาเรียนได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยไม่ให้พลาดบทเรียนไปได้ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถที่จะพิมพ์วิดิทัศน์หรือภาพจากจอในรูปของภาพถ่าย ตาราง กราฟ หรือ รูปภาพในแบบต่างๆลงในกระดาษสำหรับศึกษาต่อได้
                ความรู้ในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์นี้ยังสามารถจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านระบบเครือข่าย ใครๆก็สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและสามารถใช้ประโยชน์ได้

2.การรู้ใช้เทคโนโลยี โรงเรียนปัจจุบันเห็นความสำคัญในวิวัฒนาการใช้เทคโนโลยี จึงได้ให้การศึกษากับบุคลากรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อีเล็กทรอนิกส์ เลเซอร์และหุ่นยนต์ การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เป็นทักษะพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากทักษะการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นหรือที่รู้จักกันว่า 3Rs

3.การเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวโน้มการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นความจำเป็นกับสังคมสมัยใหม่อันเป็นผลสืบเนื่องจากความรู้ที่มีมากมาย การเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจที่มีผลต่อประชาชนในการประกอบอาชีพที่ปรับเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาใหม่ที่มีผลต่อเป้าหมายของบุคคลและสังคม การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตไม่ใช่เป็นเพียงการศึกษาในโรงเรียนเท่านั้น การศึกษาผู้ใหญ่จึงถูกคาดหวังเพิ่มขึ้นในปีคริสต์ศตวรรษที่ 1990

4.การศึกษานานาชาติ สังคมอเมริกันถือว่าได้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาได้มาจากประเทศต่างๆ และได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ หมู่บ้านโลก(global village) กล่าวถึงมาตรฐานของการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจของชาติ(อเมริกา)มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆของโลก

5.สิ่งแวดล้อมศึกษา ผลจากปัญหาต่างๆนำไปสู่ความต้องการความรู้และโปรแกรมใหม่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมศึกษา ถึงแม้ว่าเดิมที่มีวิชาที่เกี่ยวข้องคือธรณีวิทยา ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ แต่ความต้องการความรู้ที่มีความหมายและมีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ในยามคับขันหรือช่วงเวลาเร่งด่วน

 6.การศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ได้แก่โรงไฟฟ้า การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การบำบัดด้วยการฉายรังสี ความรู้เรื่องหลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็นว่าพลังงานดังกล่าวนี้มีผลกระทบต่ออากาศ อาหารอย่างไรกรณีที่มีการรั่วไหลจะมีผลกระทบในขอบเขตห่างไกลเพียงใด และความเข็มข้นของรังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ที่อยู่ใกล้และไกลออกไปนับพันไมล์ ดังนั้นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรโลกศึกษา

7.สุขศึกษาและการดูแลสุขภาพกาย แนวโน้มเกี่ยวกับสุขภาพของประชากรชาวอเมริกันจะต้องได้รับความรู้จากหลักสูตรใหม่ๆ ตัวอย่างที่จัดเจนคือ นักการศึกษานำประเด็นเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่องที่รู้กันในชื่อว่า AIDS นำมาให้ความรู้กับผู้เรียน บรรจุเป็นเรื่องหนึ่งในหลักสูตร

8.การศึกษาต่างด้าว สังคมอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีชาวต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก นัยสำคัญของคนต่างด้าวจำนวนมาก มาจากครอบครัวที่เรียกว่า ยากจน เด็กที่มาจากประเทศต่างๆจะถูกตีตราว่า ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้คนต่างด้าวที่เข้ามาใหม่นักการศึกษาให้คำแนะนำว่าโรงเรียนควรได้จัดหลักสูตรสองภาษา หลักสูตรพหุวัฒนธรรมจะช่วยให้เด็กต่างด้าวได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

9.ภูมิสาสตร์ย้อนกลับ การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นผลมาจากการตีพิมพ์หนังสือชื่อ Nation at Risk ในปี ค.ศ.1983 เด็กอเมริกันจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รวมถึงภูมิศาสตร์พื้นฐาน มีการทบทวนสาระสำคัญทางภูมศาสตร์ อาทิเรื่อง back to basic, การเรียนรู้วัฒนธรรม นิเวศวิทยาศึกษา และโลกศึกษา เรื่องราวต่างๆที่ศึกษาเล่าเรียนจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้รู้จักบทบาทของตนเองเพิ่มยิ่งขึ้น

10.การศึกษาช่วงเกรดกลาง ผู้เรียนที่อายุระหว่าง 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงความเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การศึกษาที่จัดให้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ก่อนจะเป็นวัยรุ่น และวัยรุ่นตอนต้น เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนมัธยม โรงเรียนเกรดกลางมุ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สังคมหรือสังคมประกิต ไม่เน้นวิชาการ แต่ให้ความสำคัญกับ intramural sport แต่ไม่เน้น interscholastic sport ถึงว่าโรงเรียนเกรดกลางจะมีอยู่โดยทั่วไป แต่หลักสูตรใหม่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพัฒนาขึ้น การพัฒนาหลักครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนโปรแกรมการพัฒนาครูจะต้องมีความแตกต่างจากครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอนาคตสถาบันการผลิตครูจะต้องมุ่งพัฒนาความรู้ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสอนโรงเรียนเกรดกลาง

11.การศึกษาสำคัญผู้สูงอายุ สังคมปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักการศึกษามีความเชื่อว่าโรงเรียนจะต้องสอนให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและความคาดหวังของผู้สูงอายุ และช่วยให้มีความรักต่อผู้สูงอายุ(ทั้งพ่อแม่และปู่ย่าตายาย)ในโรงเรียนจะต้องประสมประสานผู้สูงอายุทั้งผู้ที่มีความประสงค์จะเกษียณอายุและผู้เกษียณอายุจากงานประจำมาช่วยงานในโรงเรียนในรูปแบบ อาสาสมัคร ผู้ช่วยสอนและแหล่งทรัพยากรบุคคลในการเรียนรู้

12.ธุรกิจการศึกษา โรงเรียนหรือสถานศึกษารูปแบบต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในรูปแบบของเอกชนและหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ อาทิ สถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์รับเลี้ยงเด็กช่วงกลางวันและช่วงหลังเลิกเรียน ศูนย์กีฬาและโคชเอกชน ศูนย์ติวเตอร์แฟรนไชส์ วิทยาลัยเอกชนเพื่อให้บริการแนะแนว (ในการเลือกมหาวิทยาลัย) สถาบันติวเตอร์สอบ SAT และการทดสอบเพื่อขอรับในรับรองประกอบวิชาชีพ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการศึกษาเข้าสู่ตลาดการค้าที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการศึกษาจากผู้เรียนโดยตรง

13.การศึกษาเพื่ออนาคต จากงานเขียนของทอฟเลอร์ ที่กล่าวถึงอนาคตว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่สามารถที่กำหนดขอบข่ายของการเปลี่ยนแปลงได้เลยนั้น จึงนำมาเป็นหลักการของความมุ่งหมายการศึกษา ที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่อง
                แนวทางหนึ่งในการเตรียมตัวผู้เรียนในอนาคตก็คือ ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โปรแกรมหรือรายวิชาใหม่ จะถูกเรียกว่า การศึกษาเล่าเรียนเพื่ออนาคต จะเริ่มในระดับอุดมศึกษา และมัธยมศึกษาในโอกาสต่อไป สาระสำคัญของการศึกษาดังกล่าวนี้พิจารณาจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสถานการณ์ในสังคมโดยไม่มีการแบ่งแยก แต่เป็นทั้งสององค์ประกอบที่ช่วยในการตัดใจในอนาคต โดยทั่วไปการมองอนาคตไม่ใช่ภารกิจที่เล็กๆ แต่เป็นการนำเสนออนาคตที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยปกติทั่วไปที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และนำไปใช้โดยปรับให้เหมาะสมกับตนเองในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปงอย่างรวดเร็ว



หลักสูตรต้องวางแผนเพื่อการบรรลุทักษะในศตวรรษที่ 21
                ในปี 1983 สมาคมการพัฒนาหลักสูตรและการนิเทศ (Association for Supervision and curriculum development : ASCD)ได้เผยแพร่บทความวิจัย ของ Benjamin I. Troutman and Robert D.Palombo เรื่อง Identifying Futures Trends in Curriculum Planning โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 36 คนจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ข้อมูลที่ได้สรุปได้ว่า ในอนาคตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นตัวชี้การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร อันเป็นผลจาก การขยายความรู้ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และความรู้มีความเป็นศาสตร์เฉพาะการเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการศึกษาผลต่อหลักสูตรใน 3 ประเด็น คือ

1. ความเป็นความรู้ที่ร่วมกันของวิทยาการที่เจริญก้าวหน้า
             2 .ความสมดุลระหว่างความยากลำบากในการได้มาของข้อเท็จจริงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการ
             3. เอกสารความรู้ที่ใช้เป็นแหล่งความรู้ในหลักสูตร จากขอบข่ายดังกล่าวนี้กลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ให้ความเห็นว่าแนวโน้มในอนาคตที่มีผลต่อการวางแผนหลักสูตรมี 15 ประเด็นคือ
              1.ทักษะพื้นฐานทางวิชาการ (Basic Academic Skills) จะต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับทักษะการสื่อสาร คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีวศึกษา

2 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ (Computes and Other Information Technologies) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆมีรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วอุปมาดั่งเช่นเป็นพาหนะขับเคลื่อนการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกคน การพัฒนาแผนสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในระบบโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ตั้งแต่อนุบาลถึงเกรดสิบสอง

3 ความยืดหยุ่นของหลักสูตร (Curriculum Flexibility)ให้โอกาสอันยิ่งใหญ่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์และรวดเร็วจากหลักสูตร สำหรับอนุบาลถึงเกรดสิบสอง

4 การทบทวนหลักสูตร (Curriculum Revision) พัฒนาแผนปฏิบัติการที่แน่ใจว่าสามารถดำเนินการต่อไปได้ หลักสูตรได้รับการทบทวนและมีการประเมินอย่างเป็นระบบ

5 ความเป็นประชาธิปไตย (Democratic Ideals)ทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

6 โปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (Early Childhood Programs) ขยายโปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (เด็กก่อนอนุบาล)ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้

7 การมองอนาคต (Futures Perspective) การรวมขอบเขตสาระเป็นหลักสูตรเดียวโดยสิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นประเด็นสะท้อนและอธิบายประเด็นร่วมสมัย แนวโน้มอนาคต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจุบันกับเหตุการณ์ที่ผ่านไปและทางเลือกในอนาคต

                8 สัมพันธภาพระดับสากล (Global Interrelationships)ให้ความสำคัญกับมุมมองของความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม-ชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่หลักสูตรต้องมีความหลากหลาย

                9 การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ขยายโอกาสสำหรับสมาชิกของชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนที่สนใจเรียนรู้ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                10 สื่อมวลชน (Mass Media) ให้ความสำคัญกับทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ การฟัง และ การดูที่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายจากสื่อ

                11 การเติมเต็มบุคลิกภาพ (Personal Fulfillment) โรงเรียนเป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างความคิดต่อตนเองเชิงบวก และพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

                12 การประยุกต์กระบวนการ (Process Approach)หลักสูตรมุ่งที่การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะการนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า

                13 การพัฒนาทีมงาน (Staff Development ) เพิ่มโอกาสให้พัฒนาทีมงาน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี

                14 ใช้ชุมชน (Use of Community) เพิ่มบทบาทของผู้ปกครองและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการจัดโปรแกรมการศึกษาเชื่อมโยงการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์ในชุมชน

               15 การอาชีวะและอาชีพศึกษา (Vocational and Career Education) แน่ใจว่าการศึกษาอาชีวและอาชีพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ในการทำงานและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน



สรุป
      ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรพิจารณาได้จากข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่ถูกรวบรวมวิเคราะห์เชื่อมโยงเป็นชุดของจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรและนำไปออกแบบหลักสูตร โดยการอธิบายเหตุผลการได้มาของสาระความรู้ในหลักสูตร ที่มีเหตุผลประอบหลักวิชาโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆและนักพัฒนาหลักสูตรนำมากำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน กำหนดสาระเนื้อหาและผลการเรียนรู้ ข้อมูลต่างๆเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้อธิบายแนวโน้มของหลักสูตรได้

3.แนวโน้มของหลักสูตร

  ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology :ICT) ทำให้ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนใน  ยุคศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างไปจากยุคศตวรรษที่ 20  เหตุเนื่องจากงานที่เคยใช้คนทำงานกับเครื่องจักรกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพราะคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมได้ขยายขีดความสามารถจนสามารถทำงานแทนที่คนได้  ทำให้สัดส่วนแรงงานลดลงเกิดขึ้นในงานที่ใช้สัมผัสรับรู้อย่างจำเจและงานที่ใช้แรงงานแบบซ้ำๆซากๆ ซึ่งเป็นงานที่ป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำแทน แต่สัดส่วนแรงงานระดับชาติบางส่วนที่เพิ่มขึ้นในงานที่เน้นการคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญและต้องใช้  การสื่อสารที่ซับซ้อนซึ่งเป็นงานที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำแทนได้

  องค์ประกอบของการคิดอย่างเชี่ยวชาญคือ การเชื่อมโยงแบบแผนหรือระบบอย่างมีประสิทธิผลโดยใช้ความรู้อย่างละเอียดและการรู้เท่าทันความคิด (metacognition) ซึ่งการค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองโดยที่วิธีการมาตรฐานทั่วไปใช้ไม่ได้ผลคือทักษะที่สำคัญยิ่งของมนุษย์ในโลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีการสื่อสารอันซับซ้อน โดยในแต่ละวินาทีมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากมายทั้งแบบวัจนภาษา (verbal) และแบบอวัจนภาษา  (nonverbal) โดยที่ทิศทางของข้อมูลมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เพราะการสื่อสารจะพัฒนาไปอย่างที่ไม่อาจคาดเดาได้ ดังนั้นคนจึงต้องมีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารที่ซับซ้อนขึ้นจากยุคเดิม ต้องมีไหวพริบในการตอบคำถามเฉพาะหน้าอย่างฉับพลัน และควบคุมการเจรจา ถกเถียง ที่ไม่เป็นระเบียบได้อย่างราบรื่น หรือถ้าเป็นครูก็ต้องเป็นครูที่เชี่ยวชาญในการสื่อสารและมีไหวพริบในการจัดการและควบคุมห้องเรียนที่วุ่นวายให้เป็นห้องเรียนที่มีการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ราบรื่น และสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ที่ชัดเจน

  ทักษะการร่วมมือทำงานนับว่าเป็นอีกทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อคนในศตวรรษที่ 21 มากเพราะความสำเร็จของงานในระบบเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมมากขึ้น โดยที่ความเชี่ยวชาญและบทบาทของสมาชิกในทีมต่างช่วยเสริมซึ่งกันและกัน ซึ่งพนักงานในศตวรรษที่ 21 จะสามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้โดยใช้ปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อ (mediated interaction) กับเพื่อนร่วมงานในอีกเมือง อีกประเทศ หรืออีกซีกโลกได้โดยไม่เคยพบปะกันเลย ดังนั้นทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อร่วมทำงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและทักษะนี้น่าจะมีความซับซ้อนมากขึ้นในความเจริญที่มีอย่างไม่หยุดยั้ง

  จากความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนี้ทำให้เราได้รับข้อมูลข่าวสารมากมายที่ไหล่บ่าเข้ามาอย่างรวดเร็ว ซึ่งในศตวรรษที่ 21 เราคงไม่ค้นหาข้อมูลจากหนังสือในห้องสมุดอย่างในศตวรรษที่ 20  แต่เราสามารถค้นหาข้อมูลจากโปรแกรมค้นหาสมัยใหม่ซึ่งอาจได้ข้อมูลหลายหมื่นหลายแสนชิ้นภายในไม่กี่วินาที แต่ข้อมูลเหล่านั้นคงมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  หรืออาจพบข้อมูลที่ขัดแย้งกัน ดังนั้นความสามารถในการกรองข้อมูลข่าวสารจึงเป็นอีกทักษะหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้คนสามารถเลือก แยกแยะ และสกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่สำคัญต่อการตัดสินใจ เพื่อดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  เมื่อพิจารณาถึงการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบันตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา  ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552: 25) ที่ได้นำเสนอแนวทางการจัด  การเรียนรู้โดยเน้น “การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และกระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย ซึ่งผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”  เมื่อนำมาเทียบเคียงกับทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ควรได้รับการพัฒนาแล้วนับว่าเป็นหลักสูตรที่มีความพยายามให้ครูผู้สอนได้พัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น แต่ยังไม่เน้นย้ำที่ชัดเจนในเรื่องของทักษะสำคัญในการใช้เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในปัจจุบันนี้ยังถือว่าเป็นแนวทางเดิมแบบศตวรรษที่ 20 ซึ่งใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิผลของการสอนแบบเก่า เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำเพื่อเพิ่มผลงาน การใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์งาน การใช้โปรแกรมช่วยคำนวณข้อมูล ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกในการทำงาน แต่การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากไอซีทีได้อย่างเต็มที่ในการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตีความ ตัดสินใจ และใช้สารสนเทศในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำงานและการใช้ชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นแนวโน้มการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาครูและผู้เรียนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต

4.การศึกษาในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Education)

            การศึกษาในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Education) ความเจริญก้าวหน้าของ วีดิทัศน์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนได้ วีดิโอเทป คาสเสท และดิสค์สามารถนำมาใช้สอนได้ทั้งในห้องเรียน ห้องสมุด ศูนย์เรียนรู้ และที่บ้านของนักเรียน วีดิทัศน์มีความสะดวกที่นำมาเรียนได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยไม่ให้พลาดบทเรียนไปได้  มีวีดิทัศน์บทเรียนวิชาต่างมีจำนวนมากนับเป็นจำนวนพัน นอกจากนี้โรงเรียนหลายแห่งและครูจำนวนมากที่สามารถผลิตสื่อการสอนวิชาที่ตนเองรับผิดชอบในรูปของวีดิทัศน์ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สามารถที่จะพิมพ์วีดิทัศน์ หรือภาพจากจอภาพในรูปของ ภาพถ่าย ตาราง กราฟ หรือรูปภาพในแบบต่าง ๆ ลงในกระดาษสำหรับศึกษาต่อไปได้
            วีดิทัศน์ยังสามารถนำใช้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้สามารถเรียนได้ในลักษณะแบบจำลองเหตุการณ์ที่เป็นจริง มีการโต้ตอบกัน สามารถนำเสนอได้เช่นเดียวกันกับการสอนให้ชั้นเรียน บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถให้คำตอบถูกหรือผิดให้กับผู้เรียนได้ทันที หรือในกรณีที่ผู้เรียนเลือกคำตอบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถให้ผู้เรียนเห็นคำตอบและสามารถเลือกทางเลือกที่กำหนดให้ปฏิบัติได้ตามที่โปรแกรมกำหนดไว้ นอกจากนี้วีดิทัศน์ยังสามารถใช้เป็นบทเรียนเรียนแบบรายบุคคลหรือแบบกลุ่มย่อยก็ได้
            ความรู้ในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์นี้ยังสามารถจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านระบบเครือข่าย ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและสามารถใช้ประโยชน์ได้

5.การรู้เทคโนโลยี (Technical Literycy)

เกี่ยวกับรายวิชา
การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word การจัดทำตารางหรือแบบฟอร์มเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรม Microsoft Excel และการสร้างไฟล์นำเสนองาน (Presentation) ด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint

วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม Microsoft Word และทักษะการใช้งานโปรแกรม Microsoft Word เบื้องต้นได้
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม Microsoft Excel และทักษะการใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel เบื้องต้นได้
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม Microsoft PowerPoint และทักษะการใช้งานโปรแกรม Microsoft PowerPoint เบื้องต้นได้
คุณสมบัติผู้เรียน
ผู้เรียนรายวิชานี้ ควรเป็นผู้ที่มีความสนใจในการใช้งานโปรแกรมพื้นฐานของ Microsoft Office คือ MS Word, MS Excel, MS PowerPoint เพื่อนำความรู้พื้นฐานนี้ไปใช้ในการเรียน การทำงาน และควรเป็นผู้มีความรู้พื้นฐานด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลในรายวิชา
การประเมินผลแบบปรนัย (Objective Assessments) ประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา คะแนนจากแบบฝึกหัด และการทำแบบทดสอบความรู้หลังการเรียนการสอน โดยการประเมินผลจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60

          การรู้เทคโนโลยี (Technical Literycy) โรงเรียนในปัจจุบันเห็นความสำคัญในวิวัฒนาการของเทคโนโลยี จึงได้ให้การศึกษากับบุคลากรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อีเล็กทรอนิกส์ เลเซอร์ และหุ่นยนต์ การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นทักษะพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากทักษะการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น หรือรู้จักกันว่า 3Rs
            ในวิถีทางเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ผู้ปฏิบัติงานต้องมีการศึกษาที่ดี ต้องมีปัญญาที่ดีกว่า มีทักษะการสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม บ้านและที่ทำงานจะมีเครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ เครื่องแฟกซ์ และเครื่องมืออีเล็กทรอนิกส์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะนำสู่จุดวิกฤติของคนที่ไม่สามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆนี้ให้ทำงานได้ จึงมีความจำเป็นที่ภาคอุตสาหกรรมและรัฐบาล จะได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรในการเตรียมคนเข้าสู่ตลาดแรงงานที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ในอนาคตการศึกษาจะเป็นการสร้างนักวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะสามารถออกแบบ พัฒนา และประยุกต์เทคโนโลยีได้ในอนาคต
            สมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (The National Science Teachers Association : NSTA) ได้อนุมัติหลักสูตรเรียกว่าScience/Technology/Society ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นเพียงวิทยาศาสตร์เท่านั้น หากแต่ให้ความสำคัญกับสังคมและเทคโนโลยี ตัวอย่างหนึ่งของจุดประสงค์โปรแกรมนี้ก็เพื่อช่วยนักศึกษาจัดการกับผลกระทบของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
            ความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มแผนพัฒนาแห่งชาติแบบมีส่วนร่วม ของการศึกษา อุตสาหกรรมและรัฐบาล การประเมินความต้องการอาชีพในอนาคต และแผนความร่วมมือกันของโรงเรียนหรือสถานศึกษา

6.การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 4 ได้บัญญัติความหมายของการศึกษาตลอดชีวิตไว้ว่า หมายถึง การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 
          นอกจากนี้ใน พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 มาตรา 8 การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตามอัธยาศัย ก็ได้ให้ความสำคัญต่อผู้เรียน โดยได้ระบุไว้ว่า "ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต" 
          ในความหมายของการศึกษาตลอดชีวิตดังกล่าว สอดคล้องกับความหมายของการศึกษา ซึ่งมีสถานที่และระยะเวลาเช่นเดียวกัน คือเป็นการศึกษาที่เกิดในทุกสถานที่ และตลอดระยะเวลาในชีวิตของบุคคลบุคคลหนึ่ง 
          นอกจากนี้ การศึกษาตลอดชีวิตยังจะต้องเป็นการผสมผสานกันระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอีกด้วย 
ในการจัดการศึกษาของประเทศจึงให้ความสำคัญกับการศึกษาตลอดชีวิตเป็นอย่างสูง โดยเห็นได้จากความหมายของการศึกษา และความหมายของการศึกษาตลอดชีวิตดังกล่าว พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเองก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 8 โดยในการจัดการศึกษาให้ยึดหลัก 3 ประการคือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน, ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง 
          ในหนังสือ คำภีร์ กศน ได้ให้ความหมายของ การศึกษาตลอดชีวิต ไว้ว่า
• การศึกษาที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 
• การศึกษาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เกิดจนตาย 
• พัฒนาคนให้ได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆตามความสามารถของตนเอง เพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคม 
          การเรียนรู้ตลอดชีวิต 
หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเอง 
          การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) 
หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก 
          การศึกษาตลอดชีวิต 
หมายถึง การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญญาและความต้องการของกลุ่มแต่ละกลุ่ม




          การศึกษาตลอดชีวิต Phillip H. Coombs (ผู้เขียนหนังสือ The World Crisis in Education : The View from the Eighties) พบว่ารูปแบบการศึกษาในระบบโรงเรียนของประเทศด้อยพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชน ได้อย่างทั่วถึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการศึกษา (Educational Crisis) เพราะประชาชนที่มีฐานะดีเท่านั้นที่มีโอกาสได้รับการศึกษา ส่วนคนยากจนจะขาดโอกาสในการศึกษา แม้รัฐบาลต่างๆ ได้ทุ่มเทงบประมาณด้านการศึกษาสูงมากก็ตาม แต่การศึกษาไม่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตการศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะผู้อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล รัฐบาลยิ่งพัฒนาคนรวยกลับรวยยิ่งขึ้น คนจนกลับจนลง จึงทำให้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษา หมายเหตุ : หนังสือที่กล่าวถึงในข้างบน แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ วิกฤตการณ์ของโลกในทางการศึกษา: ทัศนะในทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นหนังสือแปล อันดับที่ 87 ของ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ ปี 2535 โดย ดร. ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 





แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิต 

          การศึกษาตลอดชีวิต เป็นแนวความคิด ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาปัจจุบัน แท้จริงแล้วแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตมิใช่เรื่องใหม่ แต่มีมานานแล้วในคัมภีร์กุรอานมีคำสอนว่า บุคคลพึงเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในเปลถึงหลุมฝังศพ (From cradle to grave) หรือจากครรภ์มารดาถึงสุสาน(From womb to tomb) คอมินิอุส (Comenius) นักศึกษาในสมัยนั้น ได้พูดถึงรายละเอียดของกระบวนการศึกษาตลอดชีวิตว่า ควรจัดให้มีโรงเรียน สำหรับทุกคน กล่าวคือ โรงเรียนสำหรับทารกแรกเกิด เด็กก่อนวัยเรียน เด็กเยาวชนวัยเรียน คนหนุ่มสาว และคนชรา ในช่วง 60 กว่าปีที่ผ่านมานี้ได้มีการเผยแพร่เรื่องเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษ และเพิ่มความสนใจไปสู่ทั่วโลก ในการประชุมระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษาผู้ใหญ่ (World Conference on Adult Education) ที่จัดโดย Unesco ที่กรุงมอนตรีอัล ประเทศแคนาดา ค.ศ.1960 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ค.ศ.1972 และที่กรุงไนโรบี ค.ศ.1986 ได้พัฒนาแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต อันมีสาระสำคัญดังนี้


          มนุษย์แสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะมนุษย์เราเรียนรู้จากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสังคมทุกขณะ เช่น จากการ ทำมาหากิน การเล่น การพักผ่อน การเข้าร่วมพิธีกรรม และการสมาคม เป็นต้น
          การศึกษาที่แท้จริงไม่ได้จำกัดแต่เพียงในโรงเรียนแต่ครอบคลุมถึง การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาเกิดได้ตามโอกาส จึงไม่มี วันสิ้นสุด 3. การศึกษาตลอดชีวิตเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้รับการศึกษา เพราะสามารถเลือกเรียนตามรูปแบบที่ตนต้องการ ยืดหยุ่นได้ตามโอกาส ทุกคน สามารถ เรียนรู้ได้จากทุกแห่งตามโอกาสจะอำนวย ฉะนั้น มนุษย์จึงมีโอกาสที่จะพัฒนาชีวิตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการศึกษาอย่างไม่มีจุดจบไปตลอดชีวิต

7.การศึกษานานาชาติ (International Education)

โรงเรียนในประเทศไทย ที่จัดการศึกษาโดยใช้หลักสูตรที่มาจากต่างประเทศ ดัดแปลงมา หรือสร้างขึ้นเอง แต่มิใช่หลักสูตรแห่งชาติ ของประเทศไทย และจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย เป็นสื่อหลัก ได้รับการกำหนดประเภทโรงเรียนจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนในระบบประเภทนานาชาติ โดยสามารถจำแนกหลักสูตรได้เป็น 4 หมวดหลัก ดังนี้:-

หลักสูตรระบบอเมริกัน
หลักสูตรแห่งสหราชอาณาจักร อังกฤษ และเวลส์
หลักสูตรนานาชาติ International Baccalaureate (IB)
หลักสูตรนานาชาติประเทศอื่นๆ อาทิ เกาหลี แคนาดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมัน สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย อินเดีย ฯลฯ
นอกจากหลักสูตรที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังคงมีหลักสูตรอื่นๆ ที่ไม่จัดอยู่ใน 4 หมวดข้างต้นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นหลักสูตรที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นเอง หรือมีนักการศึกษาพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นทฤษฏีในทางการศึกษา และมีรูปแบบการจัดการเรียน ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งนี้ ระบบการศึกษา และแต่ละหลักสูตร ต่างก็มีคุณลักษณะ และข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป และโรงเรียนแต่ละโรงเรียน ก็เช่นเดียวกัน ต่างมีจุดเด่น และด้อยต่างกันไป ทั้งนี้ เหตุผลในการเลือกโรงเรียนสำหรับบุตรหลาน ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ และความเหมาะสมกับผู้เรียน และครอบครัวเป็นสำคัญ

หลักสูตรอเมริกัน

ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ละมลรัฐจะรับผิดชอบพัฒนาหลักสูตร และระบบการจัดการเรียนการสอนของตนเอง โดยอิงมาตรฐานการเรียนรู้ และบรรทัดฐานการจัดการศึกษาระดับรัฐ และระดับชาติ เป็นลำดับ ดังนั้น หลักสูตรอเมริกันในแต่ละโรงเรียน และในแต่ละประเทศจึงมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ที่จะได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน ซึ่งหากจะกล่าวถึงคุณภาพแล้ว ถือได้ว่าโรงเรียนนานาชาติที่ใช้หลักสูตรอเมริกันในต่างประเทศ มักมีมาตรฐาน สูงกว่าโรงเรียนของรัฐบาลในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ โรงเรียนนานาชาติในระบบอเมริกันในต่างประเทศ ยังต้องได้รับการประเมิน และประกันคุณภาพมาตรฐาน จากหนึ่งในสี่องค์กรจากสหรัฐอเมริกา ซี่งองค์กรที่เป็นที่รู้จักสูงสุดในระดับสากล ได้แก่องค์กร Western Association of Schools and Colleges (WASC) และ New England Association of Schools and Colleges (NEASC)

การเรียนการสอนตามระบบการศึกษาอเมริกันนั้น เริ่มที่อายุ 5 ปี หรือในบางโรงเรียน ก็เปิดรับนักเรียนที่มีอายุน้อยกว่านั้น คือในระดับเตรียมอนุบาล (Pre-school) ซึ่งการจัดการเรียนการสอนในช่วงปฐมวัยนี้ จะเน้นการพัฒนาทักษะทางสังคม เพื่อปรับตัวสู่สภาพแวดล้อมในสังคมโรงเรียนรอบตัว เสริมด้วยการจัดการเรียนการสอน และการเตรียมความพร้อมด้านการอ่านเขียน และคิดคำนวนตามวัย ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กอายุ 6-18 ปีนั้น แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา (Elementary Grades 1-5) มัธยมศึกษาตอนต้น (Middle School Grades 6-8) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (High School Grades 9-12) โดยโรงเรียนส่วนใหญ่จะจัดการวัดผลรายวิชาเป็นการภายใน เพื่อให้นักเรียนสะสมหน่วยกิตเพียงพอแก่การจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตามระบบการศึกษาแบบอเมริกัน นอกจากนี้ บางโรงเรียนจะจัดให้นักเรียนได้รับการประเมินผลด้วยข้อสอบจากองค์กร หรือหน่วยงานทดสอบภายนอก เช่น Advanced Placement (AP) ซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน และวัดผลการเรียนรายวิชาในขั้นสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียน ในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ นักเรียนต่างชาติที่จะเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา ทั้งในสหรัฐอเมริกา และอีกบางประเทศ จะต้องสอบ SAT และ/หรือ ACT และ TOEFL หรืออาจต้องสอบ หรือเสนองานในรูปแบบอื่น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อของแต่ละมหาวิทยาลัย

เช่นเดียวกับโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกา โรงเรียนนานาชาติที่จัดการเรียนการสอนตามระบบอเมริกันในประเทศไทย จะต้องจัดหลักสูตรให้เกิดความสมดุล เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวม พร้อมทั้งส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ ตามความถนัด จึงต้องจัดการเรียนการสอน ทั้งด้านวิชาการและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่กว้างขวางหลากหลาย ทั้งด้านกีฬา ศิลปกรรรมแขนงต่างๆ กิจกรรมเชิงวิชาการ การแนะแนว การสอนพิเศษเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย และการทำโครงงานต่างๆ

หลักสูตรแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ และเวลส์

การศึกษาภาคบังคับตามหลักสูตรของสหราชอาณาจักร อังกฤษ และเวลส์ กำหนดให้อยู่ระหว่างอายุ 5-16 ปี นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรที่ขยายโอกาสทางการศึกษา และรองรับนักเรียนในกลุ่มอายุ 3-5 ปี และ 16-18 ปี อย่างชัดเจน โดยการจัดระดับชั้นของนักเรียน จะใช้วันเกิดของเด็กในการพิจารณา โดยใช้วันที่ 31 สิงหาคม เป็นวันกำหนด เพื่อรับนักเรียนเข้าเรียนในภาคเรียนแรกของปีการศึกษาในเดือนกันยายนของแต่ละปี ส่วนการเลื่อนระดับชั้น จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่แม้กระนั้นก็ตาม ยังคงมีนักเรียนที่เรียนในระดับชั้นที่ไม่ตรงกับเกณฑ์อายุ เนื่องจากสาเหตุเฉพาะบุคคล

หลักสูตรของสหราชอาณาจักร อังกฤษ และเวลส์ จะแบ่งออกเป็นช่วงชั้นการเรียนรู้ (Key Stages) โดยแต่ละช่วงชั้น จะระบุมาตรฐานการเรียนรู้ การทดสอบ และประเมินผลอย่างชัดเจน ช่วงชั้นที่ 1 นักเรียนจะอายุ 5-6 ปี (Years 1-2) ช่วงชั้นที่ 2 อายุ 7-10 ปี (Years 3-6) ช่วงขั้นที่ 3 อายุ 11-13 (Years 7-9) และช่วงชั้นที่ 4 อายุ 14-15 ปี (Years 10-11) ซึ่งถือเป็นช่วงชั้นสุดท้ายก่อนจบการศึกษาภาคบังคับของอังกฤษ

สำหรับนักเรียนในโรงเรียนนานาชาติ ที่จัดการเรียนการสอนในระบบอังกฤษส่วนใหญ่ จะใช้เวลาสองปี ในการเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียกว่า International General Certificate of Secondary Education (IGCSE) ซึ่งนักเรียนจะเรียนราว 8-9 วิชา เป็นวิชาบังคับอย่างน้อย 3 วิชา ได้แก่ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นจะเป็นวิชาเลือก โดยข้อสอบ IGCSE เป็นข้อสอบสากลที่ใช้สอบร่วมกันทั่วโลก จากนั้น นักเรียนที่ประสงค์จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ จะต้องเรียนต่อในระดับช่วงชั้นที่ 5 หรือที่เรียกว่า  Sixth Form  นักเรียนจะเลือกเรียนเฉพาะวิชาที่จะใช้ในการสมัครเรียนต่อ  ในระดับอุดมศึกษาหลังจบหลักสูตร 2 ปีสุดท้ายนี้

หลักสูตร International Baccalaureate (IB)

หลักสูตร IB ของมูลนิธิ International Baccalaureate Organisation เป็นหลักสูตรที่นักการศึกษาผู้มีประสบการณ์ได้พัฒนาขึ้น เพื่อให้เป็นหลักสูตรนานาชาติโดยแท้ ที่ปลอดพ้นจากนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของชาติใดชาติหนึ่ง สำหรับใช้จัดการศึกษาให้แก่นักเรียนนานาชาติ ที่มีอายุ 3-19 ปี จากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาหลักสูตร เมื่อปี พ.ศ. 2511 จนถึงวันนี้ ในแต่ละปี หลักสูตร IB จะใช้จัดการเรียนการสอนให้นักเรียนทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคน ในโรงเรียนกว่า 3,500 แห่ง  และในประเทศต่างๆ กว่า 140 ประเทศ ซึ่งจำนวนนี้ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยหลักสูตร IB นี้ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย และประถมศึกษา Primary Years Progamme ใช้เวลาเรียน 8 ปี จากอายุ  3-11 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น Middle Years Programme ใช้เวลาเรียน 5 ปี จากอายุ  11-16 ปี และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย Diploma Programme ใช้เวลาเรียน 2 ปี จากอายุ  16-18/19 ปี โดยโรงเรียนสามารถเลือกจัดการเรียนการสอนทั้งสามระดับ หรือแยกเฉพาะระดับใด ระดับหนึ่งก็ได้  และมิได้มีข้อจำกัดว่านักเรียนจะต้องเรียนต่อกันทั้งสามระดับ

ผู้ปกครองที่เลือกให้บุตรหลานเรียนในโรงเรียนที่ใช้หลักสูตร IB  สามารถวางใจในมาตรฐานการศึกษา ว่ามีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนที่ทัดเทียมกับโรงเรียนอื่นที่ใช้หลักสูตร IB เดียวกันนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใดในโลกก็ตาม เนื่องจากโรงเรียนที่จะใช้หลักกสูตร IB จะต้องได้รับอนุมัติ จากองค์กร IBO ให้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และได้รับอนุญาตให้เรียกตนเองเป็นหนึ่งในกลุ่มโรงเรียน IB World School ครูผู้สอนจะต้องได้รับการพัฒนาวิชาชีพ ผ่านการฝึกอบรมซึ่งจัดโดยองค์กร IBO และที่สำคัญ ทุกๆ 5 ปี IBO จะจัดคณะกรรมการเข้าตรวจเยี่ยม และประเมินคุณภาพมาตรฐานโรงเรียน(Authorisation)  ในการนำหลักสูตรไปใช้สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ และการวัดผลการเรียนรู้  และประเมินพัฒนาการของนักเรียน ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีสุดท้าย  IB Diploma  จะมีข้อสอบกลางที่ มาจากองค์กร IBO โดยตรง ที่ใช้สอบพร้อมกันในทุกโรงเรียนทั่วโลกในวันเวลาเดียวกัน

เหตุผลที่ผู้ปกครองเลือกที่จะส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติที่ใช้หลักสูตร IB นั้น มีหลายประการ ประการแรกก็คือ หลักสูตร IB เป็นหลักสูตรนานาชาติที่เอื้อให้นักเรียนที่จะก้าวเข้าสู่การศึกษาในระบบนานาชาติ หรือย้ายถิ่นฐานจากบ้านเกิด สามารถปรับตัวเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ หรือภาษาแม่ อีกประการหนึ่งก็คือ หลักสูตร IB เน้นการพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งพัฒนาให้นักเรียนเกิดความตระหนัก และรอบรู้เรื่องวัฒนธรรมนานาชาติ  และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล นอกจากจะพัฒนาความรู้และสติปัญญาแล้ว ยังพัฒนาพหุปัญญาตามความถนัด พัฒนาทักษะ พัฒนาทัศนคติที่ดี  ให้เกิดความสมดุลในทุกๆด้าน พร้อมกับพัฒนาจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อตนเอง และผู้อื่น สามารถนำความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ต่อสังคม

การเรียนในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น จะมุ่งเน้นพัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยใช้สิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ กระตุ้นธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก  พัฒนาทักษะให้นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ  สังเคราะห์องค์ความรู้  เชื่อมโยงศาสตร์และศิลป์ที่เรียนรู้ในวิชาต่างๆ เข้ากับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ส่วนการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับนักเรียนที่มีอายุ 16-18 ปี  หลักสูตร IB Diploma จะสร้างรากฐานทางวิชาการที่แข็งแกร่ง และสมดุล เพื่อเป็นทางลัดไปสู่ความสำเร็จ ในการสมัคร และเรียนต่อ ในระดับมหาวิทยาลัย และปลูกฝังพื้นฐานสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อการพัฒนา ทั้งนี้ นอกจากคุณสมบัติของหลักสูตร IB Diploma จะให้ความรู้ทางวิชาการกับนักเรียนทั้งในเชิงลึก และเชิงกว้าง เอกลักษณ์โดดเด่นของหลักสูตร IB Diploma ก็คือการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Knowledge) และองค์ประกอบของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่ต้องประสานความสร้างสรรค์ (Creativity) การกระทำ (Action) และจิตอาสา (Service) เข้าด้วยกันให้ออกมาเป็นโครงงานที่มีสาระ และเป็นรูปธรรม ให้คุณประโยชน์กับสังคมรอบตัว ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ นักเรียนที่ได้รับประกาศนียบัตร IB Diploma จึงเป็นที่ยอมรับ และต้องการของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก

หลักสูตรนานาชาติอื่นๆ

นอกเหนือไปจากการจัดการศึกษาในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยโดยใช้หลักสูตร IB หรืออิงหลักสูตรสหราชอาณาจักร อังกฤษ และเวลส์ หรือตามกรอบของระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีโรงเรียนนานาชาติอีกจำนวนหนึ่ง ที่เปิดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของประเทศอื่น โรงเรียนเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์ในการอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน และครอบครัวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศไทยเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือสำหรับครอบครัวนักเรียนไทยที่ผู้ปกครองอยากให้ลูกหลาน ได้รับการศึกษาตามหลักสูตรของประเทศนั้น หรือเพื่อนักเรียนที่วางแผนจะศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในประเทศที่เป็นเจ้าของหลักสูตร โดยปกติ โรงเรียนเหล่านี้ จะจัดการเรียนการสอนในภาษาประจำชาติ ตามประเทศเจ้าของหลักสูตร และมักได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ

ซึ่งข้อดีของการเรียนโรงเรียนหลักสูตรประจำชาติในประเทศไทยคือ นักเรียนสามารถเรียนตามระบบการศึกษาเดิมที่เคยเรียน ในขณะที่ได้ประสบการณ์ชีวิตจากการอาศัยอยู่ต่างประเทศและนักเรียนสามารถกลับไปเรียนต่อในประเทศบ้านเกิดของตนเองได้อย่างราบรื่น 

8.สิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education)

            ผลจากปัญหาต่างๆ อาทิ มลภาวะ น้ำเสีย ประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะทุพโภชนาการ และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้นำไปสู่ความต้องการความรู้และโปรแกรมใหม่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมศึกษา ถึงแม้ว่าเดิมทีมีวิชาที่เกี่ยวข้องคือ ธรณีวิทยา ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ แต่ความต้องการความรู้ที่มีความหมายและมีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ในยามคับขันหรือช่วงเวลาเร่งด่วน
            โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาควรได้ทำหน้าที่เตรียมผู้เรียนสู่โลกอนาคต โดยช่วยให้เข้าใจในปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ สังคมและการเมืองว่าเป็นอย่างไร ด้วยเหตุที่ว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่มั่นใจว่าใช้ได้อย่างเหมาะสม หลักสูตรต้องให้เกิดเจตคติ คุณค่า และความคิดเชิงจริยธรรม ที่ช่วยให้มีพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาต้องการการมองโลกยุคใหม่แบบบูรณาการ รู้ว่าอย่างไรที่เป็นการทำลาย รู้ว่าวิทยาศาสตร์ สังคม และการเมือง จะนำมาบูรณาการกันอย่างไรที่จะช่วยให้ลดปัญหาหรือนำไปสู่แนวทางการแก้ไข สิ่งต่างๆ โรงเรียนในอนาคตจะต้องนำแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้มาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

9.การศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ (Nuclear Education)

          ประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต รัสเซียถือว่าเป็นประเทศที่เป็นผู้นำด้านนิวเคลียร์ นอกจากนั้นประเทศจีน เกาหลีเหนือ เยอรมันนี และฝรั่งเศส นับได้ว่ามีการขายความรู้ด้านนิวเคลียร์ให้กับประเทศโลกที่สาม

          ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การบริโภคพลังงานของโลกเพิ่มขึ้นเพียง 4 เท่า ในช่วง พ.ศ. 2525 - 2533 ความต้องการบริโภคพลังงานเพิ่มขึ้น 24% และจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 - 70% ใน พ.ศ. 2563 ถึงแม้จะมีความพยายามอย่างมากที่จะใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ

          สำหรับประเทศไทยก็ตกอยู่ในภาวะเดียวกัน คือ การบริโภคพลังงานของประชาชนมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะเดียวกันทิศทางการพัฒนาประเทศกำลังมุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม พลังงานถือว่าเป็นปัจจัยที่จะเกื้อหนุน ผลักดันอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจให้ก้าวไกลไปได้ พลังงานจะต้องมีราคาถูก รวมทั้งมีใช้อย่างพอเพียง มิฉะนั้นจะทำให้การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก และนักลงทุนต่างชาติรวมทั้งในประเทศ จะเลิกเชื่อถือรัฐบาลที่ไปเชิญชวนให้มาลงทุนแล้วไม่สร้างปัจจัยพื้นฐานไว้รองรับ จึงมาถึงคำถามที่ว่า ไทยมีพลังงานสำรองไว้ใช้ในอนาคตสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเพียงพอหรือไม่ ในขณะที่ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น ทางเลือกที่จำเป็นที่จะต้องกระทำ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ในอนาคตไทยจะไม่ขาดแคลนพลังงาน ก็คือ การหาแหล่งพลังงานใหม่เข้ามาสำรองแหล่งพลังงานที่กำลังจะหมดไป สำหรับแหล่งพลังงานที่มองเห็นได้เด่นชัดซึ่งจะมีบทบาทอย่างมากที่จะเข้ามาเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ คือ พลังงานนิวเคลียร์ โดยจะนำมาใช้ในรูปของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

          เมื่อพิจารณาถึงทางเลือกในการผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการประกอบอุตสาหกรรมและอื่นๆ นั้น จะเห็นว่า การผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนจะมีต้นทุนต่ำสุดแต่เมื่อครั้งใดที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะสร้างเขื่อนก็มักจะมีกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติออกมาต่อต้าน จนโครงการหลายแห่งต้องยืดเวลาออกมา หรือไม่ก็ล้มเลิกไป ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินหรือน้ำมัน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูง และเสี่ยงต่อความไร้เสถียรภาพด้านพลังงาน เนื่องจากทั้งถ่านหินและน้ำมันจะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นหลัก แม้จะมีแหล่งถ่านหินอยู่จำนวนหนึ่งแต่ก็สามารถใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าตามแผนได้อีกในระยะเวลาเพียง 10 ปี เท่านั้น จึงคาดกันว่าในทศวรรษหน้าการผลิตพลังงานของประเทศต้องเผชิญทางเลือกสามทางที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ นำเข้าถ่านหิน, นำเข้าเทคโนโลยีนิวเคลียร์ หรือทั้งถ่านหินและเทคโนโลยีนิวเคลียร์

10.สุขศึกษาและการดูแลสุขภาพกาย (Health Education and Physical Fitness)

                ปัญหาโรคต่างๆ ในสังคม แม้จะมีวิธีรักษาและวัคซีนป้องกันโรคบ้างชนิด แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนคือ การพัฒนาสุขภาพของตนเอง สุขภาพของคนในครอบครัว และสุขภาพในสังคม ชุมชน โดยมีการวางแผนและวางแนวคิดที่ถูกต้อง

ตารางปริมาณแคลอรี่ในอาหาร http://kcal.memo8.com/food-calorie-table/

แนวทางในการวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว

การพัฒนาสุขภาพของประชาชน มีแนวคิด 3 ประการ คือ
1. การพัฒนาสุขภาพตนเอง
2. การพัฒนาสุขภาพขอคนในครอบคัว
3. การพัฒนาสุขภาพในชุมชน

                การวางแผนพัฒนาสุขภาพในภาพรวมทั้ง 3 แนวคิดจะเป็นไปในลักษณะที่ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เพราะถ้าสุขภาพส่วนบุคคลไม่ดีแล้วจะส่งผมกระทบต่อสุขภาพของบุคคลในครอบครัว และเนื่องจากครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ถ้าในครอบครัวหลายๆครอบครัวไม่เข้มแข็ง อ่อนแอด้านสุขภาพ ก็จะทำให้ภาพรวมของสังคมอ่อนแอไปด้วย ดังนั้นการพัฒนาด้านสุขภาพจึงรวมกันเป็นห่วงโซ่ที่ต้องพัฒนาเป็นองค์รวมเชื่อมโยงกันไป

                การพัฒนาสุขภาพส่วนบุคคลหรือของตนเองจะเป็นการพัฒนาเฉพาะด้าน เฉพาะบุคคล ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามวัย โดยเฉพาะการพัฒนาและดูแลอาใจใส่เลี้ยงดูจากพ่อแม่ จะเป็นรากฐานที่ดีต่อชีวิตต่อไป เช่น การได้รับภูมิคุ้มกันโรคอย่างครบถ้วนเป็นระยะ การสร้างเสริมความแข็งแรงของร่างกายโดยได้รับการกระตุ้น การรับวัคซีนป้องกันโรคหรือวัคซีนที่จำเป็นเฉพาะโรค เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน เมื่อได้รับการพัฒนาสุขภาพด้านร่างายมาอย่างดี พร้อมกับได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ ได้รับความรักความอบอุ่นทางจิตใจอย่างเพียงพอ จะทำให้บุคคลนั้นสุขภาพจิตดีไปด้วย

                การพัฒนาสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ ส่วนมากจะเป็นไปในลักษณะการดูแลตนเอง เพราะผู้ใหญ่จะรู้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง บอกอาการที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ สุขภาพที่ไม่ดีในวัยผู้ใหญ่นั้น มักเกิดจากพฤติกรรมของตนเองเป็นส่วนมาก เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่รับประทานอาหารบางมื้อ เลือกรับประทานอาหารเฉพาะสิ่งที่ชอบ หรือไม่รับประทานอาหารแต่รับประทานอาหารเสริม หรืออาหารสำเร็จรูปที่เป็นแคปซูลแทนเพื่อนรักษารูปร่าง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง

                การดูแลสุขภาพในวัยชราหรือผู้สูงอายุ ในวัยนี้การทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อมโทรมลงแต่ถ้าการดูแลสุขภาพดีในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ การเสื่อมโทรมของอวัยวะในร่างกายก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆและไม่ค่อยเจ็บป่วย อย่างไรก็ตามการเสื่อมโทรมของร่างกายและสมองย่อมเป็นไปตามวัย การดูแลสุขภาพขอองบุคคลในช่วงนี้จึงต้องได้รับความช่วยเหลือดูแลจากคนในครอบครัว

                การพัฒนาสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ต้องมาจากพื้นฐานการดูแลสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยชราต่อเนื่องกัน

2. วิธีการวางแผนพัฒนาสุขภาพของคนเองและครอบครัว
การวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัวนั้น ควรปฏิบัติ ดังนี้
2.1 การวางแผนพัฒนาสุขภาพกาย
1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ปฏิบัติอย่างน้อย 2-3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ แต่ละครั้งใช้เวลาในการออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 30 นาที ให้ปฏิบัติตามหลักของการออกกำลังกาย โดยยืดหลัก หนัก นาน บ่อย จะเป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก การแกกำลังกายต้องปฏิบัติตามความสามารถของบุคคล ตามวัย ตามความเหมาะสม ทั้งเวลา สถานที่ เพศ วัย การออกกำลังกายจะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานของระบบต่างในร่างกาย ส่งผมให้สุขภาพแข็งแรง

2. รับประทานอาหารต้องให้ครบ 5 หมู่และเหมาะสมกับวัย โดยเฉพาะวัยที่กำลังเติบโต มีการพัฒนาทางร่างกาย ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอ เช่น วัยรุ่นยังอยู่ในวัยขอการเจริญเติบโตและต้องออกกำลังกาย เสียพลังงาน จึงต้องชดเชยด้วยคาร์โบไฮเดรต สร้างเริมการเจริญเติบโตด้วยอาหารประเภทโปรตีน

3. พักผ่อนให้เพียงพอ ระยะเวลาในการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละวัย มีความแตกต่าง เช่น วันเด็ก ต้องพักผ่อนนอนหลับให้มากๆ ในวัยผู้ใหญ่ การนอนอาจน้อยลงแต่ต้องไม่น้อยเกินกว่า 6-8 ชั่วโมง และช่วงของการนอนหลับให้หลับสนิทเพื่อให้การหลั่งของสารแห่งความสุขไปอย่างเต็มที่ ใช้เวลาว่างในวันหยุดทำกิจกรรมหรือไปเที่ยวพักผ่อนยังสถานที่ท่องเที่ยวร่วมกับครอบครัว เพื่อผ่อนคลายและสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

4. การเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพร่างกายและได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และในการตรวจสุขภาพร่างกาย ต้องตรวจทุกระบบอย่างละเอียด เช่น การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาความผิดปกติในเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจมวลกระดูกในวัยผู้ใหญ่ ตรวจการทำงานของระบบสำคัญๆ ในร่างกาย

5. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อร่างกาย โดยเฉพาะพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองในช่วงการเป็นวัยรุ่น เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสำส่อนทางเพศ ตลอดจนการทดลองหรือใกล้ชิดกับผู้ที่ติดสารเสพติด

6. อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยง หรือเลือกที่จะอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ เพราะสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อสุขภาพ การมีที่อยู่อาศัยที่ปราศจากพาหะนำโรค เช่น ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง การที่เราอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมดี สะอาด ทำให้เรามีอากาศหรือสถานที่ผักผ่อนหย่อนใจที่ดี มีน้ำสะอาดบริโภค มีห้องน้ำห้องส้วมที่ดี ปราศจากขยะมูลฝอย จะทำให้สุขภาพของเราดีไปด้วย

          การจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำความสะอาดบ้าน ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ของแมลงสาบ หรือทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ หอบหืดและโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์

 2.2 การวางแผนพัฒนาสุขภาพจิต

1. อ่านหนังสือที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย จิตใจสงบ เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือต้นไม้ เพื่อให้ได้แนวคิดในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้สึกสบายใจ
2. ปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ
3. หมั่นนั่งสมาธิ เจริญปัญญาเพื่อให้จิตใจผ่องใส มีสติในการดำเนินชีวิต สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดี

2.3 การวางแผนพัฒนาสุขภาพด้านสังคม

1. เข้าร่วมกิจกรรมตามวัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่นอยู่เสมอ หรือกิจกรรมอาสาสมัครของชุมชน เพื่อสร้างสัมพันธภาพกับคนในชุมชน สามารถปรับตัวใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้
2. เข้าร่วมเป็นสมาชิกของชมรมหรือสมาคมต่างๆ เพื่อให้รู้จักการเป็นผู้ให้ การเสียสละเพื่อส่วนรวม ไม่เอาเปรียบผู้อื่น เป็นการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า

2.4 การวางแผนพัฒนาสุขภาพด้านปัญญา

1. ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ หาสาเหตุของปัญหาจากข่าวหรือสถานการณ์สำคัญของสังคม รวมทั้งผลกระทบที่ตามมา เพื่อฝึกการคิดและนำไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตของตนเองหรือของครอบครัว
2. หมั่นฝึกฝนทักษะการอ่าน การฟัง การพูด อยู่เสมอ เช่น การอ่านหนังสือภาษาต่างประเทศ อ่านหนังสือแปล ฟังเพลงสากล ฝึกพูดภาษาต่างประเทศที่ตนสนใจ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เสริมปัญญาให้กับตนเอง และเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต
3. ศึกษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้มีความรู้ สามารถใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้

3. กระบวนการพัฒนาสุขภาพของตนและครอบครัว

                การพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว เป็นกระบวนการที่ต้องครอบคลุมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกัน การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนการฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
3.1 ขั้นตอนของการประเมินปัญหา โดยแบ่งกลุ่มภาวะสุขภาพของคนเราได้ดังนี้
1) กลุ่มที่มีสุขภาพดี
2) กลุ่มที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะสุขภาพไม่ดี
3) กลุ่มที่เกิดความเจ็บป่วยแล้ว เมื่อประเมินภาวะของกลุ่มผู้มีปัญหาได้แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการต่อไป

3.2) ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุของปัญหาแล้วดำเนินการแก้ไขหรือรักษา โดยนำข้อมูลจากการประเมินในข้อ 1 มาศึกษาหาสาเหตุว่าเกิดจากเหตุใด เช่น เกิดจากพฤติกรรรมของตัวบุคคล สภาพแวดล้อมในชุมชนที่อาศัย พันธุกรรม หรือความเคยชิน

3.3) ขั้นตอนการวางแผนและแก้ปัญหา เป็นการคิดหาวิธีการแก้ไข วางแผนดูแลสุขภาพให้เหมาะสม เช่น อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน เมื่อวิเคราะห์ปัญหาแล้วพบว่ามีพฤติกรรมการบริโภคส่วนบุคคลชอบรับประทานรสชาติหวาน หารแก้ไข คือ ให้ความรู้ในเรื่องอาการของผู้ป่วย โรคเบาหวาน ผลกระทบการจากเป็นโรคเบาหวาน การแก้ไขได้ในขณะนี้คือ ลดปริมาณการรับประทานอาหารหวาน การวางแผนแก้ไข ควรใช้แนวคิดการจากให้ความรู้แก่บุคคลนั้นเกิดความตระหนักด้วยตนเองจะดีที่สุด

3.4) ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ต้องปฏิบัติด้วยความเต็มใจ ไม่เป็นการบังคับจงจะเกิดผลดี ต้องเห็นอันตรายที่จะเกิดแก่ตน หรือเกิดผลกระทบกับบุคคลอันเป็นที่รัก จึงจะทำให้คนเราปฏิบัติได้ เช่น รู้ว่าจะเป็นเบาหวาน ต้องเลิกหรืองดไม่รับประทานของมัน ของหวาน ถ้าทำไม่ได้อาจเสียชีวิต ขาดผู้ดูแลบุตรต่อไป

3.5) ขั้นตอนการประเมินผล เป็นกระบวนการที่เราสามารถทราบได้ว่า การวางแผนพัฒนาสุขภาพด้วยวิธีการที่เราเลือกปฏิบัติ หรือวางแผนนั้น ประสบความสำเร็จหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด หรือทำให้สุขภาพดีขึ้นหรือไม่

11.การศึกษาต่างด้าว (Immigrant Education)

          สังคมอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีชาวต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นัยสำคัญของคนต่างด้าวจำนวนมากมาจากครอบครัวที่เรียกว่า “ยากจน(structurally poor)”  เด็กที่มาจากประเทศต่าง ๆ จะถูกตีตราว่า “ด้อยความสามารถในการเรียนรู้(learning disabled or “slow” เพื่อช่วยให้คนต่างด้าวที่เข้ามาใหม่นักการศึกษาให้คำแนะนำว่าโรงเรียนควรได้จัดหลักสูตรสองภาษา(Bilingual programs) หลักสูตรพหุวัฒนธรรมจะช่วยให้เด็กต่างด้าวได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

          สถาบันรามจิตติภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานเสวนาเรื่อง “จับกระแสยุทธศาสตร์การศึกษาสำหรับลูกแรงงานต่างด้าว

          สถาบันรามจิตติภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานเสวนาเรื่อง “จับกระแสยุทธศาสตร์การศึกษาสำหรับลูกแรงงานต่างด้าว : ประสบการณ์จากนานาประเทศและบทเรียนสำหรับประเทศไทย” โดยมี ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นประธาน

          ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ และหัวหน้าโครงการจับกระแสความเคลื่อนไหวและนวัตกรรมการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน” (INTREND) ระบุว่า ปัจจุบันมีเด็กลูกแรงงานต่างด้าวและเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทยอยู่ประมาณ 2.5–3 แสนคน โดยปัญหาของเด็กกลุ่มนี้มีตั้งแต่ การไม่รู้หนังสือ การต้องออกจากการศึกษากลางคันเนื่องจากต้องย้ายตามพ่อแม่ ไปจนถึงปัญหาการถูกบังคับค้าแรงงาน และการเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ ขณะที่หน่วยงานภาครัฐในส่วนของผู้ปฏิบัติ และพ่อแม่เด็กซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวเอง ยังขาดความเข้าใจในตัวกฎหมายและระบบระเบียบของรัฐ ตลอดจนการมีทัศนคติในการยอมรับ

         ความเท่าเทียมของมนุษย์ แต่ปัจจุบันยังคงมีความพยายามในระดับพื้นที่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเด็กลูกแรงงานต่างด้าวในไทย โดยกลุ่ม NGOs และกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่

          รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร จากคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เห็นว่า เด็กกลุ่มลูกแรงงานต่างด้าวในปัจจุบันยังคงมีกำแพงในการคุ้มครองสิทธิอยู่ คือ กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องทะเบียนราษฎรการเข้าเมือง และสัญชาติ ขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะรับรองสิทธิของเด็กกลุ่มนี้ด้วยการกำหนดเลข 0 นำหน้าในบัตรประชาชน ซึ่งช่วยให้เด็กนำไปใช้เป็นหลักฐานในการเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาในประเทศได้

         ด้าน อ.เปรมใจ วังศิริไพศาล จากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ตามกฎหมายแล้วโรงเรียนต้องรับเด็กเข้าศึกษาได้โดยไม่เลือกสัญชาติ แต่ด้วยการจัดการศึกษาซึ่งดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น NGOs หรือกระทั่งกระทรวงศึกษาเอง ยังมีเป้าหมายที่ยังไม่ชัดเจนว่าควรเป็นในรูปแบบใด การศึกษาภาคบังคับ การศึกษาสายอาชีพ หรือการให้วุฒิการศึกษาซึ่งเป็นมาตรฐานสามารถนำกลับไปเทียบโอนในประเทศต้นทางได้ ประเทศไทยไม่เคยมีนโยบายความร่วมมือทางการศึกษากับประเทศโดยรอบว่าจะดูแลและให้การศึกษากับเด็กกลุ่มนี้อย่างไร

         สมพงษ์ สระแก้ว จากมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ชี้ให้เห็นว่า ควรแยกเรื่องการจัดเก็บข้อมูลเด็กลูกแรงงานต่างด้าวออกจากข้อมูลแรงงานต่างด้าว เพราะเมื่อทราบจำนวนที่แน่นอนของเด็กกลุ่มนี้แล้ว ก็สามารถที่จะเข้าไปให้การช่วยเหลือ หรือวางแผนการจัดการด้านการศึกษาได้ ทั้งการศึกษาภาคบังคับ และนอกระบบซึ่งจะช่วยให้เขาเหล่านี้เติบโตขึ้นมาในสังคมไทยโดยเข้าใจสังคมไทยอย่างมีทางเลือกในชีวิต

          ขณะที่ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ชี้ว่า สิ่งซึ่งท้าทายที่สุดของการจัดการกับปัญหาลูกแรงงานต่างด้าวในไทย คือ หน่วยงานภาครัฐเองต้องการความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งในด้านข้อมูลประชากร คู่มือปฏิบัติ และข้อกฎหมาย ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างของการทำงาน สามารถกำหนดประเด็นในการทำงานเชิงรุกของหน่วยงานภาครัฐได้

          “ประเด็นสำคัญคือ เราจำเป็นต้องปรับทัศนคติในการยอมรับคนกลุ่มนี้ว่าเขาเองก็คือประชากรของอาเซียนไม่ควรแบ่งเขาแบ่งเรา ตลอดจนการปรับแนวคิดเรื่องการลงทุนในการดูแลคนกลุ่มนี้ให้กับสังคมเสียใหม่ เนื่องจากสถานประกอบการเป็นผู้รับประโยชน์โดยตรงจากลูกแรงงานต่างด้าว ดังนั้นรัฐในฐานะผู้ลงทุนเดิม ควรเพิ่มบทบาทให้ผู้ประกอบการในฐานะผู้รับประโยชน์โดยตรง ให้เข้ามาร่วมลงทุนสนับสนุนการดูแลแรงงานต่างด้าว และเด็กลูกแรงงานต่างด้าวโดยไม่ปล่อยให้เป็นภาระของคนทั้งชาติอีกต่อไป”

12.ภูมิศาสตร์ย้อนกลับ (The Return of Geography)

          การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นผลมาจากการตีพิมพ์หนังสือชื่อ Nation at Risk ในปี ค.ศ.1983 เด็กอเมริกันจะได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวโลกรอบตัวเรา รวมถึงภูมิศาสตร์พื้นฐาน มีการทบทวนสาระสำคัญทางภูมิศาสตร์ อาทิเรื่อง back to basic, การเรียนรู้วัฒนธรรม นิเวศวิทยาศึกษา และโลกศึกษา  เรื่องราวต่างๆ ที่ศึกษาเล่าเรียนจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้รู้จักบทบาทของตนเองเพิ่มยิ่งขึ้น

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์
          ในอดีต ในการปฏิบัติงาน คำถามที่มักพบเสมอๆ คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และทำไม เหล่านี้เป็นคำถามที่คำตอบ ไม่จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลมากนัก ต่อมาเมื่อมีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ แผนที่กระดาษ การตรวจสอบภาคสนาม คำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นคำตอบเฉพาะพื้นที่ และพิจารณาคำตอบเฉพาะส่วน แต่เมื่อเกิดระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ขึ้น ลักษณะของคำตอบสามารถเชื่อมโยงกันได้หลายรูปแบบ โดยรูปแบบของข้อมูลสามารถเก็บบันทึกไว้ในระบบ และแสดงผลย้อนหลัง ไปในเหตุการณ์ ที่สามารถจำลองภาพเสมือนจริงในอดีต และเมื่อมีคำถามที่ถามต่อว่า จะมีผลอย่างไร แล้วจะวางแผน หรือหาวิธีแก้ไขอย่างไร เนื่องจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถแสดงผลในด้านสถิติ ข้อมูลความเหมือนหรือความแตกต่าง ของสภาพพื้นที่ เวลา สภาพแวดล้อม และข้อมูลต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในช่วงเวลาต่างๆ กัน แล้วนำมาแสดงผล ทำให้ช่วยเพิ่มข้อมูล ในการวางแผนและตัดสินใจบนพื้นฐานที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุดด้วยวิธีการที่ชัดเจน โดยมีกระบวนการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล แล้วแสดงผลออกมาจากค่าจริงและค่าสมมติ ทำให้สร้างสถานการณ์เสมือนจริง ทั้ง ๒ มิติ และ ๓ มิติ จึงมีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ โดยอาจอ้างอิงกับค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ หรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางภูมิศาสตร์ เช่น การศึกษาร่างกายมนุษย์ ที่มีการแยกชั้นข้อมูล ตั้งแต่ชั้นผิวหนังต่างๆ จนถึงชั้นกระดูก
          ในการนำข้อมูลด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ สามารถจำแนกชั้นข้อมูลได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มข้อมูลที่ไม่เปลี่ยนแปลง (static layer) และกลุ่มข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (dynamic) ที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลอื่นๆ จากแนวคิดนี้ จึงได้มีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ไปใช้ในศาสตร์ต่างๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องแผนที่ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว แต่เป็นแผนที่ที่มีชีวิต หรือมีการเคลื่อนไหว โดยมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล และนำข้อมูลไปใช้ในชีวิตประจำวัน ดังตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ที่เกิดขึ้นดังนี้

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่องานด้านการเกษตร
          ประเทศไทยได้จัดทำฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนด้านการเกษตร ประกอบกับข้อมูลจากดาวเทียมทีออส (THEOS) ที่สามารถติดตามการใช้ที่ดินอย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาที่ต้องการ ระบบฐานข้อมูลการเกษตร ประกอบด้วย ฐานข้อมูลดิน นำมาใช้เป็นข้อมูลด้านการเกษตร เพื่อการจำแนกพื้นที่ดิน และทำเป็นแผนที่ดิน พร้อมแสดงความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกพืชชนิดต่างๆ แผนที่ป่าไม้ แผนที่การใช้ประโยชน์จากที่ดิน ฐานข้อมูลน้ำ ประกอบด้วย สภาพของแหล่งน้ำ พื้นที่ชลประทาน บริเวณพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้ง แหล่งน้ำผิวดิน และตำแหน่งหลุมเจาะน้ำบาดาล ของน้ำใต้ดิน ฐานข้อมูลลม หรือ สภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย แผนที่ สภาพภูมิอากาศ การรายงานปริมาณน้ำฝน ความชื้น อุณหภูมิ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงสถานการณ์ของน้ำในแต่ละช่วงฤดูกาล ค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่ บ่งบอกพื้นที่ซึ่งอาจได้รับผลกระทบรุนแรงจากภัยแล้ง หรือน้ำท่วม และเมื่อนำข้อมูลเหล่านี้ มาจัดชั้นแล้วสร้างข้อมูลใหม่ผสมผสานกับข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียม ก่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ในงานด้านการเกษตร และงานวิจัยค้นคว้าได้มากมาย

ตัวอย่างของลักษณะงานที่นำมาประยุกต์ใช้ เช่น  
  - การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมด้านเกษตรกรรม การวิเคราะห์นี้ ใช้ชั้นข้อมูลต่างๆ มาผสมผสานกัน ผลการศึกษาสามารถแสดงความเหมาะสมของพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งแยกพื้นที่เป็นระดับความเหมาะสมมาก หรือความเหมาะสมปานกลาง
  - การประเมินที่ดินสำหรับการหาความเหมาะสมของพืช ผลการศึกษาจำแนกพื้นที่ปลูกพืชชนิดต่างๆ และนำไปบูรณาการ กับคุณภาพของดิน ที่มีผลกระทบต่อพืชชนิดต่างๆ โดยเปรียบเทียบความต้องการของพืชกับคุณภาพของดิน
  - การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตร เป็นการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาวิเคราะห์ วางแผนการผลิต ด้านการเกษตร ให้สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศ แหล่งน้ำ ตามประเภท ของเกษตรกรรม รายได้ และความต้องการของตลาด

 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการคมนาคม
          ผลของการพัฒนาเทคโนโลยีระบบบอกตำแหน่งพิกัดด้วยดาวเทียม (Global Positioning System: GPS) ทำให้สามารถรู้ตำแหน่งของรถ เรือ เครื่องบิน หรือสิ่งของที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องวัดพิกัดด้วยดาวเทียม ซึ่งสามารถติดตามได้ว่า ขณะนี้วัตถุหรือสิ่งของนั้นอยู่ ณ ที่ใดบนโลก อุปกรณ์ชุดนี้ทำงานควบคู่กับแผนที่ที่สร้างขึ้น โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งแสดงรายละเอียดของเส้นทางคมนาคม หรือสถานที่ต่างๆ โดยใช้ประกอบกับข้อมูลดาวเทียม  ซึ่งผู้ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์สร้างขึ้นมา หรือจากผู้ใช้เป็นผู้ระบุความต้องการเพิ่มเติม

          ในการสร้างแผนที่เส้นทางคมนาคมที่แสดงข้อมูลเป็นเส้น มีความละเอียดของการบอกตำแหน่ง สูงกว่าการสร้างข้อมูลด้านการเกษตร เพราะถนนจะมีช่องจราจรหลายช่อง ได้แก่  ๒ ช่องจราจร ๔ ช่องจราจร ๖ ช่องจราจร ๘ ช่องจราจร และ ๑๐ ช่องจราจร แต่ละช่องห่างกัน ๓.๕ เมตร นอกจากนี้ยังมีทางต่างระดับยกขึ้นเหนือผิวทางเดิม และทางแยกต่างระดับที่มีความซับซ้อน ของการสร้างแผนที่และการแสดงตำแหน่งของรถ โดยเฉพาะการแจ้งตำแหน่งอุบัติเหตุ ผู้เข้าไปช่วยเหลืออาจอยู่คนละฝั่งถนนก็ได้ ทั้งนี้ บนเส้นทางสำคัญจะมีการติดตั้งกล้องซีซีทีวี (CCTV: Closed-Curcuit Television) เพื่อรายงานการจราจร ระบบนี้ได้ถูกเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหว และแผนที่บริเวณนั้นได้

           ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการคมนาคมขนส่ง ที่ติดตั้ง เครื่องบอกตำแหน่งจากดาวเทียม ภายในระบบจะมีหลายรูปแบบ รูปแบบทั่วไปคือ ผู้ใช้มีเครื่องรับสัญญาณ GPS ที่แสดงตำแหน่งรถ ของตนเอง และแผนที่ที่ติดตั้งมาด้วย หรือรับสัญญาณ จากทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถกำหนดตำแหน่งจากจุดเริ่มต้น ไปยังจุดหมายปลายทางว่า สามารถเดินทางไปเส้นทางใด อีกรูปแบบหนึ่งเป็นระบบ เพื่อใช้การบริหารจัดการการขนส่ง เครื่องรับสัญญาณ GPS จะถูกติดตั้งไว้ในตัวรถ เพื่อดูว่าคนขับรถได้ไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้หรือไม่ ระบบสามารถควบคุมการใช้น้ำมัน ช่วงเวลาที่ควรซ่อม เปลี่ยนเครื่อง และป้องกันการขโมยรถ โดยแจ้งไปยังศูนย์ควบคุม ให้สามารถสั่งตัดระบบน้ำมันได้

           การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ ในงานบริหารจัดการการขนส่ง หรือด้านการจัดส่งสินค้า มีความสำคัญมากขึ้น ในด้านค่าใช้จ่าย โดยเป็นส่วนสำคัญ ต่อการวางแผนการจัดส่งสินค้า จากแหล่งผลิตไปยังโรงงาน จากโรงงานแปรรูป ส่งไปยังคลังสินค้า จากคลังสินค้าส่งไปยังตลาด และจากตลาดระบายออก สู่ผู้บริโภคได้ทันตามกำหนดเวลา ซึ่งช่วยลดความเสียหาย ของสินค้า อีกทั้งในกระบวนการ หากสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ จะทำให้ลดค่าใช้จ่าย และสามารถสร้างผลกำไรได้ จึงสามารถแข่งขันในตลาด ที่นับวัน จะต้องใช้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์และป้องกันสถานการณ์โรคระบาด
          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้รับการพัฒนา และนำมาใช้ในการศึกษาด้านสถานที่ สถานการณ์การแพร่กระจายตัวของโรคระบาด และใช้ในการวางแผนงานการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยอาศัยฐานข้อมูลหลัก ซึ่งก็คือ ชั้นฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของขอบเขตการปกครองและประชากร สภาพภูมิประเทศ ตำแหน่งที่ตั้งของโรงพยาบาลและสถานที่บริการสาธารณสุข บริเวณที่เกิดโรคประจำถิ่น หรือเกิดโรคระบาด เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดขึ้น กระบวนการทำงานของระบบ จะเริ่มจาก การกำหนดตำแหน่ง ของบริเวณที่เกิดโรคว่าอยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอใด จำนวนผู้ป่วยเท่าใด ภาพเบื้องต้น จะแสดงเป็นระดับสี ๕ ระดับ คือ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมาก สูง ปานกลาง เล็กน้อย และต่ำ จากนั้น จึงนำฐานข้อมูล ที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมาพิจารณา ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ อาชีพ สภาพแหล่งน้ำ สภาพเส้นทางคมนาคม ฟาร์มต่างๆ หรือข้อมูลต่างๆ ที่นักระบาดวิทยาได้กำหนดขึ้น เพื่อนำไปสู่กระบวนการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาด โดยการกำหนดแนวพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ออกจากแหล่งระบาด ๕ กิโลเมตร เช่น กรณีโรคไข้หวัดนก จากฟาร์มไก่ที่เกิดโรคระบาดในรัศมี ๕ กิโลเมตร ถ้ามีฟาร์มอยู่ในพื้นที่จำเป็นต้องถูกควบคุม เพื่อตัดวงจร ของการแพร่กระจายของโรค กระบวนการที่กล่าวนี้เป็นกรณีฉุกเฉินที่เกิดในสถานการณ์โรคระบาด กระบวนการที่ตามมาอีกขั้นหนึ่ง คือ กระบวนการที่สิ้นสุดการระบาด พื้นที่ที่เกิดโรคระบาดจะถูกบันทึกในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กลายเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง เพราะเชื่อว่า โรคอาจฝังตัวอยู่ในพื้นที่ เมื่อสภาพเหมาะสมก็อาจย้อนกลับมาเกิดได้อีก

ในการศึกษากรณีโรคระบาดมีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ เช่น กรณีเกิดโรคไข้หวัดนก งานวิจัยของ Tiensin, T., et al (2005) ที่รวบรวมข้อมูลโรคระบาดในประเทศไทย กรณีเกิดโรคฉี่หนู งานวิจัยของ Moukomia, S., et al (2007) ที่ศึกษา ในพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา

 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อป้องกันภัยพิบัติ น้ำท่วม ดินถล่ม ภัยแล้ง
          ผลของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น และอยู่อาศัยรวมกัน เป็นจำนวนมากในแต่ละพื้นที่ เมื่อเกิดภัยพิบัติ ความเสียหายจะมีความรุนแรงมากทั้งชีวิตและทรัพย์สินปัจจุบันยังไม่มีวิธีการหยุดยั้งไม่ให้เกิดภัยพิบัติได้ แต่เราสามารถทราบถึงพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติได้ ด้วยการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อศึกษาเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และนำตัวอย่างนั้น มาคาดคะเนพื้นที่ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก เพื่อสร้างระบบเตือนภัย และวางแผนป้องกัน ทำให้ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินลดลงได้ หลักการสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต้องจัดทำข้อมูล ๓ สถานการณ์ คือ ก่อนเกิดสถานการณ์ ระหว่างเกิดสถานการณ์ และหลังเกิดสถานการณ์


การจัดทำข้อมูลก่อนเกิดสถานการณ์ 
          ประกอบด้วยชั้นข้อมูลต่างๆ คือ สภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ สภาพทางน้ำและแหล่งน้ำ ความลึกของทะเล รอยเลื่อนแผ่นดินไหว ธรณีวิทยา พื้นที่ขาดแคลนน้ำ พื้นที่ที่มีแนวโน้มเกิดภัยพิบัติ เส้นทางคมนาคม ขอบเขตการปกครอง สถานพยาบาลภาครัฐ รวมทั้งที่ตั้งของโรงเรียน วัด และโรงแรม ซึ่งเป็นฐานข้อมูลพื้นที่ สำหรับเคลื่อนย้ายประชาชน ไปยังจุดปลอดภัย หรือจุดรวมตัว ฐานข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างระบบเตือนภัยของพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ และมีความรุนแรงไม่เท่ากัน

การจัดทำข้อมูลระหว่างเกิดสถานการณ์
          ในระหว่างเกิดสถานการณ์ ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับข้อมูลจากภาคสนาม อาจเป็นข้อมูลจากการบินถ่ายภาพ ภาพถ่ายจากดาวเทียม รายงานการสื่อสารทางใดทางหนึ่ง เพื่อดูสภาพพื้นที่ที่เสียหายว่า มีบริเวณกว้าง-ยาวเท่าไร พื้นที่ใดยากต่อการเข้าถึง การส่งเสบียงอาหาร และการช่วยเหลือต้องใช้วิธีใด การซ้อนทับข้อมูลก่อนเกิดสถานการณ์ และข้อมูลปัจจุบัน สามารถพบสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ทราบถึงความรุนแรง และสามารถกำหนดตำแหน่งของผู้ประสบภัยในสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งอาจแจ้งภัยที่เกิดขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือ พร้อมกับแผนที่ งานช่วยเหลือภาคพื้นดินก็จะเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว

การจัดทำข้อมูลหลังเกิดสถานการณ์  
          มักพบความเสียหายด้านชีวิตและทรัพย์สิน โดยตำแหน่งในการจัดส่งเสบียง และการช่วยเหลือประชาชน ที่ตกค้าง สามารถตรวจสอบได้ จากการสร้างแผนที่ การกำหนดตำแหน่งผู้เสียชีวิต พื้นที่เสียหาย พร้อมทั้งเขียนค่าพิกัดและบันทึก ลงในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และถ่ายภาพเส้นทางที่ถูกตัดขาด แหล่งน้ำที่ใช้ในพื้นที่หมดสภาพ เพื่อการวางแผนด้านงบประมาณ และปรับคืนสภาพต่อไป ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนป้องกัน และลดความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อาจนำมาใช้ในการประเมินพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย จากภัยพิบัติ เพื่อการชดเชยหรือชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม ทั้งต่อฝ่ายที่ได้รับความเสียหาย และฝ่ายที่ต้องจ่ายค่าชดเชย


          ทั้งหมดนี้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีส่วนช่วยในการค้นคว้าหาคำตอบได้เป็นอย่างดี ความสามารถในการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ นับวันจะเพิ่มทวีตามข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจากข้อมูลที่แสดงผลข้อมูลเป็นชั้นๆ ที่ถูกแยกชนิดและประเภท เริ่มจากข้อมูลที่จัดเก็บในภาคสนามและเอกสารที่คัดลอกลงในระบบคอมพิวเตอร์ นำมาเชื่อมโยงกับข้อมูลรายละเอียด ที่อยู่ในตารางอธิบาย แล้วเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลตำแหน่งแสดงภาพจำลอง และจากข้อมูล ๒ มิติ ได้รับการพัฒนามาเป็นข้อมูล ๓ มิติ ที่สามารถเชื่อมโยงกับภาพถ่ายและภาพจากวิดีโอ ทำให้เห็นรายละเอียด ตามมาตราส่วนต่างๆ ซึ่งสามารถย่อขยายและเปรียบเทียบ ศึกษาข้อมูลและเพิ่มข้อมูลที่เป็นจริงและที่สมมติขึ้น สามารถนำมาใช้ และช่วยเพิ่มข้อมูล เพื่อการบริหารงานและการตัดสินใจของผู้บริหาร สำหรับการแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง และใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นอกจากนำมาใช้ในกิจการดังกล่าวแล้วนั้น พบว่า ยังมีอีกหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ได้นำมาศึกษา ในด้านต่างๆ เช่น ด้านป่าไม้ การทำแผนที่ท่องเที่ยว สถานีบริการน้ำมัน แผนที่อาชญากรรม แผนที่รายได้ประชากร แผนที่ภาษีในระดับตำบล การวิเคราะห์ด้านการตลาด การขนส่ง และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ ขึ้นกับการรวบรวมข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูลใหม่ ทำให้เกิดแนวคิดพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

13.การศึกษาในช่วงเกรดกลาง (Middle-Grade Education)

          ผู้เรียนที่อายุระหว่าง 10 –15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงความเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การศึกษาที่จัดให้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ก่อนจะเป็นวัยรุ่น(Preadolescents) และวัยรุ่นตอนต้น(early adolescents) เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนมัธยม(secondary school) โรงเรียนเกรดกลางมุ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สังคมหรือสังคมประกิต(Socialization) ไม่เน้นวิชาการ แต่ให้ความสำคัญกับ intramural sport แต่ก็ไม่เน้นinterscholastic or competitive sports ถึงแม้ว่าโรงเรียนเกรดกลางจะมีอยู่โดยทั่วไป แต่หลักสูตรใหม่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพัฒนาขึ้น การพัฒนาครูผู้สอนจะต้องปรับเปลี่ยน โปรแกรมการพัฒนาครูจะต้องมีความแตกต่างจากครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอนาคตสถาบันการผลิตครูจะต้องมุ่งพัฒนาความรู้ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสอนโรงเรียนเกรดกลาง(Middle school)

14.การศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ (Aging Education)

          การวิจัยเรื่อง การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ในด้านเป้าหมายการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ลักษณะกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ หลักสูตรและเนื้อหา ผู้จัดการศึกษาและผู้สอน วิธีการจัดการศึกษา สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การประเมินผล การบริหารจัดการ ผลการจัดการศึกษา (2) ศึกษาความต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ในด้านเป้าหมายการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ลักษณะกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ หลักสูตรและเนื้อหา ผู้จัดการศึกษาและผู้สอน วิธีการจัดการศึกษา สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การประเมินผล การบริหารจัดการ ผลการจัดการศึกษา (3) ศึกษาอนาคตภาพการจัดการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย เครื่องมือที่ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแนวทางการสนทนากลุ่ม
 ผลการวิจัย พบว่า
          1. สภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ จัดขึ้นเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในช่วงอายุ 60-64 ปี มากที่สุด ผู้จัดการศึกษาและผู้สอนคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในรูปแบบการจัดอบรมระยะสั้น โดยสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้มากที่สุดคือ สื่อบุคคล ประเมินผลด้วยวิธีการสังเกตโดยใน พ.ศ. 2553 พบว่า มีโครงการที่จัดให้ผู้สูงอายุของหน่วยงานต่าง ๆ มากที่สุด คือ 1-3 โครงการ
           2. ความต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ จัดขึ้นเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในช่วงอายุ 60-64 ปี มากที่สุด ผู้จัดการศึกษาและผู้สอน คือครูภูมิปัญญาหรือผู้รู้ในชุมชน ในรูปแบบการจัดอบรมระยะสั้น สื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่ต้องการมากที่สุด คือ สื่อบุคคล ประเมินผลด้วยวิธีการประเมินตามสภาพจริง และต้องการให้ชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายบริหารจัดการการจัดการศึกษาตลอดชีวิต 
           3. อนาคตภาพการจัดการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย มีเป้าหมายการจัด เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์และมีสุขภาพดี เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวและสามารถปรับตัวเข้ากับชุมชน สังคม และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในสังคมได้ กิจกรรมการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยแบบบูรณาการในลักษณะสาระบันเทิง มีการสร้างและส่งเสริมแกนนำผู้สูงอายุเพื่อเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่พึ่งตนเองได้ และกลุ่มที่พึ่งตนเองไม่ได้ เนื้อหาการเรียนรู้ควรตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ตามความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล และควรนำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ชีวิตที่เป็นจริง แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการปรับตัวทางสังคมและจิตใจ ด้านเศรษฐกิจและการออม ด้านการเรียนรู้ และด้านสิทธิของผู้สูงอายุตามกฎหมาย วิธีการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ การจูงใจให้ผู้สูงอายุเข้ารับการศึกษา ควรเน้นการประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยเสริมแรงจูงใจเรื่องประโยชน์ผู้สูงอายุจะได้รับหลังจากเข้ารับการศึกษา ผู้จัดการศึกษาและผู้สอน ควรเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาผู้สูงอายุในพื้นที่ กิจกรรมการจัดการศึกษาควรบูรณาการอย่างหลากหลายรูปแบบ ในลักษณะพหุวัย เน้นการอภิปรายหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันอย่างไม่เป็นทางการ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ควรมีบทบาทสำคัญและใกล้ชิดในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ผู้สูงอายุเป็นรายบุคคล การประเมินผลควรประเมินตามสภาพจริงด้วยการสังเกต โดยมีการบริหารจัดการในลักษณะที่ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายร่วมกันบริหารจัดการ ให้งบประมาณสนับสนุนและจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนร่วมกัน

15.ธุรกิจการศึกษา(For-Profit Education)

          ธุรกิจศึกษา คือ การเรียนเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น บัญชี การตลาด การเงิน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ธุรกิจศึกษามุ่งเน้นเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีศักยภาพในการทำธุรกิจ ภายใต้บริบทสังคมสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด และการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่นับวันจะยิ่งทวีความเข้มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากจะสอนเทคนิคการทำธุรกิจ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงแล้ว หลักสูตรนี้ยังครอบคลุมไปถึงการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภายนอก ที่ส่งผลต่อรูปแบบการตัดสินใจซื้อ และความจงรักภักดีต่อแบรนด์ของผู้บริโภค

          โรงเรียนหรือสถานศึกษารูปแบบต่าง ๆเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในรูปแบบของเอกชนและหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ อาทิ สถานเลี้ยงเด็กเล็ก(nursery) ศูนย์รับเลี้ยงเด็กช่วงเวลากลางวันและช่วงหลังเลิกเรียน ศูนย์กีฬาและโคชเอกชน ศูนย์ติวเตอร์แฟรนไชส์ วิทยาลัยเอกชนเพื่อให้บริการแนะแนว(ในการเลือกมหาวิทยาลัย) สถาบันติวเตอร์สอบ SAT และการทดสอบเพื่อขอรับในรับรองประกอบวิชาชีพ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการนำการศึกษาเข้าสู่ตลาดการค้าที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการศึกษา จากผู้เรียนโดยตรง

16.การศึกษาเพื่ออนาคต (Futuristic Education)

          นี่เป็นประเด็นที่ นายจันโททัย กลีบเมฆ อดีตนักการศึกษาในระดับรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาหยิบยกมานำเสนอเป็นข้อคิดโดยระบุว่าการจัดการศึกษาในอนาคตจำเป็นจะต้องมีทั้งนักคิด ผู้นำไปปฏิบัติ และผู้ให้การสนับสนุน ประกอบกันไปทั้ง 3 ส่วนอย่างกลมกลืนกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพ

          ในปัจจุบันเราคุ้นเคยกับการจัดการเรียนการสอนที่ครูเป็นผู้รับแนวความคิดและนโยบายมาจากระดับสูงเพื่อนำไปปฏิบัติโดยผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อย เช่น กรรมการสถานศึกษา เป็นต้น ดังนั้น ในอนาคตควรมีการเพิ่มบทบาทของผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นให้มากขึ้น จะเปรียบเทียบให้เห็นพอสังเขป ดังนี้

          บทบาทของผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นที่มีต่อการศึกษาในอดีตและปัจจุบันนั้น ในความเป็นจริงแต่ละโรงเรียนมีแนวโน้มจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว การติดต่อระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น กับโรงเรียนมีน้อย ถึงน้อยมากหรือไม่มีเลย

          งานหลักของครู ได้แก่ การป้อนคำสอนจากตำราให้ตรงกับหลักสูตรหรืองานที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นไม่มีส่วนได้สำรวจ รับรู้ หรือแสดงความคิดเห็นและเหตุผลที่ผู้ปกครองชุมชน และท้องถิ่นต้องการให้โรงเรียนได้รับทราบการจัดการเรียนการสอนก็จะสำเร็จรูปจากกรม กระทรวงและครู เพื่อนำมาอบรมสั่งสอนให้แก่นักเรียนทั่วประเทศ ในส่วนของหลักสูตรก็จะเป็นแนวปฏิบัติที่สืบทอดกันมา ไม่ค่อยมีการปรับปรุงให้มีคุณภาพดีขึ้น

          ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการประเมินก็คือ นักเรียนจะได้ประกาศนียบัตรเมื่อศึกษาจบหลักสูตร นักเรียนที่เรียนดีมีผลงานเยี่ยมยอดจะได้อยู่ใกล้ชิดครู และครูจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ ส่วนผู้ปกครองจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียนเท่านั้นที่จริงแล้วบทบาทของผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นที่มีต่อการจัดการศึกษาในอนาคตควรจะเป็นดังนี้คือ

         งานหลักของครู ได้แก่ การสร้างสรรค์ความสำเร็จให้เกิดตามสภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนและท้องถิ่นที่ตั้งของโรงเรียน โดยหลักสูตรจะเป็นเพียงการเน้นการแก้ปัญหาให้แก่นักเรียนเท่านั้น โดยครูผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่นต้องช่วยกันประชุม ปรึกษาหารือคิดวางแผนเพื่อกำหนดเป็นหลักสูตรท้องถิ่นของตนเอง และเอาไปใช้อย่างจริงจังทุกชั้นเรียน

          หลักสูตรมีความหลากหลายตามความต้องการของผู้ปกครองชุมชน และท้องถิ่น ความสำเร็จในความหลากหลายของหลักสูตรขึ้นอยู่กับผู้เรียนและชุมชน โดยมีครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะเท่านั้น

ผลงานแห่งความสำเร็จ คือ ผลงานที่ดีที่สุดของนักเรียนที่แข่งขันกับตัวเองไม่ใช่แข่งขันกับเพื่อนนักเรียนด้วยกันการนำเสนอแนวคิดเหล่านี้เป็นเรื่องที่ดี แต่นักการศึกษาและนักวิชาการทั้งหลายจะมีเวลาและจิตใจที่กว้างขวางในการรับข้อคิดของผู้มีประสบการณ์บ้างหรือไม่ยังไม่แน่ใจนัก.

1.การประเมินหลักสูตร

            การประเมินหลักสูตรเป็นขั้นตอนในการศึกษาคุณค่าของว่าดีหรือไม่อย่างไรบกพร่องในส่วนไหนเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงหลักสูตรในโอกาสต่อไปการประเมินหลักสูตรนั้นมีขอบเขตและระยะการประเมินแตกต่างกันออกไปแล้วแต่จุดประสงค์ของการประเมินเช่นการประเมินเอกสารหลักสูตรในระยะก่อนนำหลักสูตรไปใช้การประเมินการใช้หลักสูตรในขณะที่ดำเนินการใช้หลักสูตรหรือประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตรและประเมินระบบหลักสูตรหลังจากการใช้หลักสูตรแล้วการประเมินผลหลักสูตรนั้นต้องกำหนดลงไปให้แน่ชัดว่าต้องการประเมินอะไรข้อมูลที่นำมาประเมินต้องเชื่อถือได้การวิเคราะห์ผลการประเมินต้องทำอย่างรอบคอบ
              การประเมินหลักสูตรต้องทำเป็นกระบวนการตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินวางแผนและออกแบบการประเมินรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลรายงานและสรุปผลการประเมินเพื่อที่จะนำผลที่ได้จากการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไปจากขั้นตอนการประเมินนักศึกษาได้พัฒนารูปแบบการประเมินไว้หลายรูปแบบเป็นต้นว่ารูปแบบการประเมินหลักสูตรที่สร้างเสร็จใหม่ๆ ซึ่งเป็นการประเมินผลก่อนการนำหลักสูตรไปใช้เช่นรูปแบบการประเมินหลักสูตรด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบปุยแซงค์หรือรูปแบบการประเมินหลักสูตรในระหว่างหรือหลังการใช้หลักสูตรเช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์, สเตค, สตัฟเฟิลบีมหรือดอริสโกว์ แต่ละรูปแบบแม้จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปเราก็สามารถนำแนวคิดในการประเมินหลักสูตรมาประยุกต์เป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการจะประเมินนั้นๆ ได้